Journal of Demography
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสถานการณ์โรคไม่ติดต่อและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ในประชากรไทยอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป โดยการใช้ข้อมูลจากโครงการสำรวจด้านสุขภาพ การสูงอายุ และการเกษียณในประเทศไทย (Health, Aging, and Retirement in Thailand: HART) รอบที่ 3 ปี พ.ศ. 2564 เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (cross-sectional analytical study) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านอายุ เพศ สถานภาพสมรส การศึกษา การสูบบุหรี่ สถานะสุขภาพกาย สถานะสุขภาพจิต ภูมิภาค และสิทธิหลักประกันสุขภาพ สัมพันธ์กับการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ ยกเว้นการออกกำลังกาย สำหรับการใช้บริการรักษาพยาบาล พบว่า ผู้ที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป มีโอกาสในการใช้บริการรักษาพยาบาล จำนวนครั้ง (กรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน) และจำนวนวันนอนรักษาในโรงพยาบาล (กรณีผู้ป่วยใน) สูงกว่าผู้ที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเพียง 1 โรค ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านการออกกำลังกาย สถานะสุขภาพจิต และภูมิภาค ในขณะที่บริการรักษาพยาบาลผู้ใน พบว่า การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป อายุ และสถานะสุขภาพกาย สัมพันธ์กับการใช้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยใน นอกจากนี้แล้ว การวิจัยนี้ไม่พบว่า สิทธิหลักประกันสุขภาพที่แตกต่างกันสัมพันธ์กับการใช้บริการรักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่แตกต่างกัน ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายสาธารณสุขด้านโรคไม่ติดต่อและเพื่อพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศไทยต่อไปได้
Abstract
This research aimed to study the situation on noncommunicable diseases (NCDs) and the factors associated with outpatient and inpatient care utilization among the Thai population aged 45 and older using the Health, Aging, and Retirement in Thailand (HART) survey 2021. This was a cross-sectional analytical study. The findings reveal that age, gender, marital status, education, smoking status, physical health status, mental health status, region, and health insurance are associated with NCDs, whereas exercise is not. Regarding healthcare services utilization, individuals with two or more NCDs are more likely to utilize healthcare services, with a higher number of visits (both outpatient and inpatient care) and longer hospitalized (inpatient care), compared to those with only one NCD. Factors associated with outpatient care usage include exercise, mental health status, and region. For inpatient care, factors such as having two or more NCDs, age, and physical health status are significantly associated with inpatient care utilization. Additionally, this research did not find that different health insurance schemes are associated with variations in the use of both outpatient and inpatient services. The findings from this research can be utilized to formulate public health policy on NCDs and to further develop the healthcare system in Thailand.
DOI
10.56808/2730-3934.1373
First Page
1
Last Page
15
Recommended Citation
Wannasri, Arnat
(2024)
"สถานการณ์โรคไม่ติดต่อ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการรักษาพยาบาลในกลุ่มประชากรไทยอายุตั้งแต่ 45 ปี ที่เป็นโรคไม่ติดต่อ: ข้อค้นพบจากโครงการสำรวจด้านสุขภาพ การสูงอายุ และการเกษียณในประเทศไทย 2564 (Health, Aging, and Retirement in Thailand 2021: HART 2021),"
Journal of Demography: Vol. 40:
Iss.
1, Article 2.
DOI: https://doi.org/10.56808/2730-3934.1373
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jdm/vol40/iss1/2
Included in
Epidemiology Commons, Health Services Administration Commons, Health Services Research Commons