•  
  •  
 

Journal of Demography

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤฒพลังด้านการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย และปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการทำงานของผู้สูงอายุไทยที่มีสุขภาพดี คณะผู้วิจัยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการการสำรวจขนาดใหญ่ เรื่อง “การเปลี่ยนแปลงทางประชากรและความอยู่ดีมีสุขในบริบทสังคมสูงวัย” โดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2559) ในส่วนของพฤฒพลังด้านการทำงาน คณะผู้วิจัยพบข้อสรุปที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนี้ (1) ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้สูงอายุที่มีความต้องการทำงานยังคงไม่ได้ทำงาน (2) ผู้สูงอายุเพศชายมีความต้องการทำงานมากกว่าผู้สูงอายุเพศหญิง และ (3) ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีมีความต้องการทำงานมากกว่าผู้สูงอายุที่มีสุขภาพต่ำกว่า ระดับดี ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์ความต้องการทำงานของผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีโดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอย โลจิสติกแบบไบนารี พบว่ามีตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ความเพียงพอของรายได้ การดูแลสมาชิกในครอบครัว และภูมิภาคที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม ในอนาคตควรมีนโยบายที่ส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุโดยควรยกระดับการศึกษาและการฝึกอบรมทักษะก่อนการเกษียณอายุเพื่อลดช่องว่างความต้องการทำงานที่ไม่ได้รับการตอบสนองของผู้สูงอายุไทย

DOI

10.56808/2730-3934.1366

Share

COinS