Journal of Demography
Abstract
สถานการณ์ความรอบรู้ด้านปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพและรูปแบบการสร้างสุขภาวะโดยเฉพาะในประชากรวัยใสถือเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจและส่งเสริมให้ประชากรวัยใสห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพทุกรูปแบบงานวิจัยนี้ได้มุ่งไปยังประชากรวัยใสที่บวชเป็นสามเณรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความรอบรู้ ด้านปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพและรูปแบบการสร้างสุขภาวะวิถีพุทธของสามเณรในสังคมไทย 2) วิเคราะห์ปัจจัยทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสร้างสุขภาวะวิถีพุทธของสามเณรในสังคมไทย และ 3) พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อรูปแบบการสร้างสุขภาวะวิถีพุทธเพื่อลดโอกาสและความเสี่ยงต่อปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของสามเณรในสังคมไทย อาศัยการวิจัยแบบผสานวิธีด้วยการเก็บข้อมูลแบบผสมผสานจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสามเณรจำนวน 477 รูป ในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถาม และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติและการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า สามเณรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอยู่ในระดับมาก และมีรูปแบบการสร้างสุขภาวะวิถีพุทธที่สามเณรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับที่เข้มแข็ง สำหรับปัจจัยทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสร้างสุขภาวะวิถีพุทธของสามเณรในสังคมไทยมี 4 ปัจจัย ประกอบด้วย ความเข้าใจต่อปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพเกี่ยวกับบุหรี่ พฤติกรรมการป้องกัน ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพทั้งจากการสูบบุหรี่การดื่มแอลกอฮอล์ และการเล่นการพนัน ในส่วนของข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อรูปแบบการสร้างสุขภาวะวิถีพุทธควรมีการยกระดับด้วยแนวคิดข่ายใยสุขภาวะใน 4 ระดับคือ ข่ายใยสุขภาวะระดับบุคคล ข่ายใยสุขภาวะระดับวัด ข่ายใยสุขภาวะระดับชุมชน และข่ายใยสุขภาวะระดับนโยบาย
DOI
10.58837/CHULA.JDM.38.2.6
First Page
28
Last Page
49
Recommended Citation
ปัญญชิต, สายชล
(2565)
"พฤติกรรมการป้องกันปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของสามเณรวัยใสในภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย,"
Journal of Demography: Vol. 38:
Iss.
2, Article 2.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.JDM.38.2.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jdm/vol38/iss2/2