Journal of Demography
Abstract
แม้ว่าจำนวนคนไร้บ้านในเมืองจะสะท้อนปัญหาความยากจนและการถูกกีดกันทางสังคม แต่ในปัจจุบันยังไม่มีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับนิยามของคนไร้บ้าน ส่วนการเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรที่เข้าถึงยากกลุ่มนี้ต้องใช้งบประมาณสูง และต้องได้รับความร่วมมืออย่างเข้มแข็งจากหลายภาคส่วนอีกด้วย สำหรับบทความนี้มุ่งเน้นค้นหาวิธีวิทยาทางเลือกในการประมาณการจำนวนคนไร้ บ้านในพื้นที่ย่อยของประเทศไทย ผลการศึกษา พบว่า การประมาณการจำนวนด้วยวิธีทางอ้อม และวิธี Capture-recapture มีจุดเด่นตรงที่ประหยัดงบประมาณและเวลา สำหรับข้อเสนอแนะคือ ควรขยายนิยามในการสำรวจคนไร้ บ้านให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่กับครอบครัว เพื่อนและญาติเป็นการชั่วคราวโดยไม่ทราบว่าพรุ่งนี้จะไปอาศัยกินอยู่หลับนอนที่ใด ในระยะยาวควรพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลคนไร้บ้าน ให้แต่ละหน่วยงานมีมาตรฐานแบบเดียวกันในการบันทึกข้อมูลคนไร้บ้าน และสามารถเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการประมาณการจำนวนคนไร้บ้านด้วยวิธีประมาณการทางอ้อมและ/หรือวิธี Capturerecapture ตามความเหมาะสมของบริบทในแต่ละพื้นที่ย่อยต่อไป
DOI
10.58837/CHULA.JDM.38.2.5
First Page
1
Last Page
27
Recommended Citation
บัวทอง, ธนานนท์; พิทักษ์ธานิน, อนรรฆ; and ฉิมมามี, มนทกานต์
(2565)
"วิธีวิทยาในการประมาณการและการแจงนับจำนวนคนไร้บ้านของประเทศไทย,"
Journal of Demography: Vol. 38:
Iss.
2, Article 1.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.JDM.38.2.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jdm/vol38/iss2/1