Journal of Demography
Abstract
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษำระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้ปฏิบัติงานต่อบรรยากาศในการทำงานจากแนวปฎิบัติการเว้นระยะห่างทางกายภาพในช่วงโควิด-19 และศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นในช่วงเวลาดังกล่าว แนวปฎิบัติการเว้นระยะห่างทางกายภาพประกอบด้วยมาตรการที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม กล่าวคือ การปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพ มำตรการด้านอาชีวอนามัย การเผยแพร่ความรู้ การฝึกอบรม และการสนับสนุนจากหัวหน้างาน ซึ่งผู้วิจัยศึกษากลุ่มประชากรที่เป็นผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9 จำนวน 98 คน และ 85 คน ในช่วงเวลาก่อนและหลังการปรับพื้นที่ จากจำนวนทั้งหมด 133 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามและการลงพื้นที่สัมภาษณ์เบื้องต้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลจากการวิจัยพบว่าการใช้แนวปฎิบัติฯ โดยการปรับพื้นที่ทำงานและการใช้มาตรการด้านอาชีวอนามัยส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานมีระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นต่อบรรยากาศในการทำงานที่เพิ่มสูงขึ้น การวิเคราะห์ปัจจัยด้านประชำกรศำสตร์ 5 ตัวแปร คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนผู้อยู่อาศัยในครัวเรือน และตำแหน่งงาน พบว่าตัวแปรตำแหน่งงานส่งผลต่อระดับความพึงพอใจอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ โดยผู้ปฏิบัติงานซึ่งต้องพบปะและให้บริการกับประชาชนพึงพอใจสูงขึ้นในส่วนของการได้รับความรู้ที่ถูกต้อง ในอีกทางหนึ่ง ตัวแปรอายุและตำแหน่งงานส่งผลต่อระดับความเชื่อมั่น โดยผู้ปฏิบัติงานที่สูงอายุกว่าจะมีระดับความเชื่อมั่นที่ต่ำกว่า เนื่องด้วยรู้สึกเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าในขณะที่ต้องให้บริการต่อประชำชน อีกทั้งยังระบุความต้องการที่จะได้รับการอบรม ฝึกทักษะเพิ่มเติมเพื่อสามารถนำแนวทางไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง
DOI
10.58837/CHULA.JDM.37.2.6
First Page
39
Last Page
55
Recommended Citation
กาญจนรัตน์, ณัฏฐ์พัชร์ and โอษธีศ, ชฎาธาร
(2564)
"ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นต่อบรรยากาศการทำงานจากแนวปฏิบัติการเว้นระยะห่างทางกายภาพในช่วงโควิด-19: กรณีศึกษาสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9,"
Journal of Demography: Vol. 37:
Iss.
2, Article 3.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.JDM.37.2.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jdm/vol37/iss2/3