•  
  •  
 

Journal of Demography

Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์บรรจุภัณฑ์นมผง ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการสำรวจข้อมูลจำกกลุ่มตัวอย่าง 550ชุด ทั่วประเทศไทย ใช้สถิติพรรณนา ในการวิเคราะห์ความถี่ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติไคสแควร์ทดสอบสมมติฐานทางสถิติ ผลการวิเคราะห์พบว่าการออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การโฆษณานมผงสำหรับ ทารกทางอ้อมผ่านการโฆษณานมผงสำหรับเด็กเล็ก โดยมี 3 ประเด็นสำคัญ คือ การออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงที่ สัมพันธ์กับการแบ่งส่วนตลาด การออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยและไม่ชัดเจน รวมทั้งการ นำเสนอสารอาหารชวนเชื่อ เพื่อการสร้างมูลค่านมผงบนฉลากบรรจุภัณฑ์ มากไปกว่านั้น ผลการสำรวจยังสำทับว่า สตรีวัยเจริญพันธุ์เห็นว่า ฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับเด็กเล็กกับนมผงสำหรับทารกมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย และไม่ชัดเจน จึงเข้าข่ายละเมิดมาตรา 15 ที่กำหนดให้ฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับทารกกับนมผงสำหรับเด็กเล็กต้อง แตกต่างอย่างชัดเจนและแยกแยะได้โดยง่าย ผลสำรวจการเปิดรับสื่อโฆษณานมผงทางโทรทัศน์ สตรีวัยเจริญพันธุ์เกือบครึ่งเข้าใจว่านมผงที่เคยพบเห็นใน สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์มีทั้งนมผงสำหรับเด็กเล็ก (สูตร 3) และนมผงสำหรับทำรก (สูตร 1) สะท้อนให้เห็นว่า สตรี วัยเจริญพันธุ์ไม่สามารถแยกแยะฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับเด็กเล็กออกจากนมผงสำหรับทารกได้โดยง่าย โดยนัยนี้ การโฆษณานมผงสำหรับเด็กเล็กทางโทรทัศน์มีแนวโน้มที่จะเป็นการโฆษณานมผงสำหรับทารกทางอ้อม นอกจากนี้ การเปิดรับสื่อโฆษณาและกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดนมผงมีความสัมพันธ์กับการจำตราสินค้า สัญลักษณ์พิเศษ และสารอาหารที่เป็นจุดขาย รวมไปถึงแนวโน้มที่จะใช้นมผงเลี้ยงบุตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น แม้จะมีกฎหมายบังคับใช้ แต่ยังพบการละเมิดอย่างชัดเจน จึงควรมีการพัฒนาการเกณฑ์สำหรับประเมิน ความแตกต่างของบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับทำรกและบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับเด็กเล็กอย่างชัดเจน

DOI

10.58837/CHULA.JDM.37.2.5

First Page

21

Last Page

38

Share

COinS