•  
  •  
 

Journal of Demography

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความไม่มั่นคงในงานของลูกจ้างชั่วคราวในภาคราชการ การวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาข้อมูลทุติยภูมิจากการส ารวจลูกจ้างชั่วคราวในภาคราชการ ในปี พ.ศ. 2561 และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยทางสังคมแบบดิจิทัล (Digital social research) ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ข้อความออนไลน์ (Online text analysis) ใน 30 กระทู้สนทนาช่วงปี พ.ศ. 2561-2564 จากเว็บไซต์พันทิป (www.Pantip.com)โดยการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญ ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ลูกจ้างชั่วคราวในภาคราชการมีความไม่มั่นคงในงาน โดยกลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 70 มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 55.6ระบุว่ารายได้ที่ตนเองได้รับนั้นไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต ลูกจ้างชั่วคราวต่ำกว่าร้อยละ 20 เท่านั้นที่ได้รับสวัสดิการ เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดา มารดา การเบิกจ่ายรักษาพยาบาล รวมถึงการประกันกลุ่ม ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถสรุปภาพความไม่มั่นคงในงานได้ 5 ประเด็นคือ 1) ความเหลื่อมล้ำในโครงสร้างชนชั้นระบบราชการ 2) ความไม่มั่นคงในตำแหน่งและสัญญาจ้างงาน 3) ความไม่มั่นคงในค่าตอบแทนและสวัสดิการ 4) ความเสี่ยงถูกเลิกจ้างและไม่มีค่าชดเชย และ 5) ความไม่ก้าวหน้าของค่าตอบแทน ผลการวิจัยนี้สนับสนุนให้มีการส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานของกลุ่มลูกจ้างชั่วคราวในภาคราชการให้เท่าเทียมกับการจ้างงานอื่น ๆ ในภาคราชการ ทั้งในด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ การสร้างความมั่นคงในการจ้างงานระยะยาว และการสร้างความก้าวหน้าในอาชีพอย่างเป็นระบบต่อไป

DOI

10.58837/CHULA.JDM.37.1.2

First Page

27

Last Page

48

Share

COinS