•  
  •  
 

Journal of Demography

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการวิจัย เรื่อง "สุขภาวะของคู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ในตำบลนางแล อาเภอเมือง จังหวัดเชียงราย" ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมของการทำวิจัยกับการบริการวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาวะ คุณภาพชีวิตสมรส และความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะกับคุณภาพชีวิตสมรส ของคู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์คู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ การศึกษาภาคสนาม และการค้นคว้าจากเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson ' s Correlation Coefficient) ผลการศึกษา พบว่า คู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ จานวน 95 คน เป็นเพศชาย 41 คน เพศหญิง 54 คน อายุระหว่าง 60 - 91 ปี เป็นชาวอาข่า 3 คน ลาหู่ 4 คน และไทยวน 88 คน มีสุขภาวะดังนี้ 1) สุขภาวะทางกาย พบว่า คู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์เกือบทุกคนสามารถพึ่งพาตนเองได้ 2) สุขภาวะทางจิต พบว่า คู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไม่มีภาวะซึมเศร้า 3) สุขภาวะทางสังคม พบว่า คู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์มีสัมพันธภาพในครอบครัวอยู่ในระดับมาก จานวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 43 4) สุขภาวะทางจิตวิญญาณ พบว่า คู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีสุขภาพจิตวิญญาณระดับดี จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 12 ผลการศึกษาคุณภาพชีวิตสมรสของคู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่า ในภาพรวมผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์มีคุณภาพชีวิตสมรสในระดับสูง จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 16 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านการชื่นชมคุณค่าคู่สมรส ระดับสูง จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 30 รองลงมาคือ การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การเต็มใจร่วมทุกข์ร่วมสุขกันในครอบครัว การมีเวลาอยู่ร่วมกัน การใช้สมรรถนะจัดการกับวิกฤตการณ์ในครอบครัว และการมีศรัทธาต่อศาสนา ตามลำดับ ผลการศึกษาความสั พันธ์ระหว่างสุขภาวะและคุณภาพชีวิตสมรสของคู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่า สุขภาวะทางสังคมกับสุขภาวะทางจิตวิญญาณ มีความสัมพันธ์กันสูงสุด รองลงมา คือคุณภาพชีวิตสมรสกับสุขภาวะทางจิตวิญญาณ สุขภาวะทางกายกับสุขภาวะทางใจคือภาวะซึมเศร้า และสุขภาวะทางสังคมกับคุณภาพชีวิตสมรส ตามลำดับ

DOI

10.56808/2730-3934.1316

First Page

70

Last Page

89

Share

COinS