•  
  •  
 

Journal of Demography

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาดัชนีชีวิตดิจิทัลและความเหลื่อมล้าทางด้านชีวิตดิจิทัลของประชากรในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลการสารวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนช่วงปี พ.ศ. 2556 - 2560 ของสานักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งคานวณจากความแตกต่างของพฤติกรรมการดาเนินชีวิตดิจิทัลของแต่ละปัจเจกบุคคลใน 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย รูปแบบพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต รูปแบบพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และรูปแบบพฤติกรรมการสื่อสารแบบเวลาจริง จากนั้นมาคานวณหาค่าดัชนีจีนีแบบถ่วงน้าหนัก เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ความเหลื่อมล้าทางด้านชีวิตดิจิทัลในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ดัชนีชีวิตดิจิทัลของประชากรไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และดัชนีการสื่อสารแบบเวลาจริงมีดัชนีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ดัชนีคอมพิวเตอร์มีการใช้งานลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยมิติเมืองและชนบท คนในเมืองมีความเป็นชีวิตดิจิทัลมากกว่าคนชนบท ซึ่งในมิติภูมิภาคคนกรุงเทพมหานครมีความเป็นดิจิทัลสูงที่สุด ในขณะที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือมีชีวิตดิจิทัลใกล้เคียงกัน ทั้งนี้มิติจังหวัด คนกรุงเทพฯ ยังครองความเป็นชีวิตดิจิทัลอันดับ 1 ทั้ง 5 ปี ในขณะที่ปีล่าสุด พ.ศ. 2560 คนสกลนครมีชีวิตดิจิทัลน้อยที่สุดในประเทศ ด้านปัญหาความเหลื่อมล้าทางด้านชีวิตดิจิทัลของประชากรไทยยังคงมีกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ แต่แนวโน้มมีทิศทางที่ดีขึ้นโดยความเหลื่อมล้าลดลงทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 - 2560 ในทุกมิติ โดยมิติปัจเจกบุคคลปี พ.ศ. 2556 ค่าดัชนีจีนีลดลงจาก 50.63 เหลือ 42.46 ใน พ.ศ. 2560 ด้านมิติเมืองมีความเหลื่อมล้าน้อยกว่าชนบททุกปีเช่นกัน อย่างไรก็ตามมิติภูมิภาค กรุงเทพมหานครมีความเหลื่อมล้าน้อยกว่าภูมิภาคอื่น โดยที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีความเหลื่อมล้ามากที่สุด และมิติจังหวัด แม่ฮ่องสอนมีความเหลื่อมล้ามากที่สุดอย่างต่อเนื่องในรอบ 5 ปี ทั้งนี้กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่มีค่าความเหลื่อมล้าน้อยที่สุดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - 2559 แต่ปีล่าสุด พ.ศ. 2560 จังหวัดภูเก็ตกลับเป็นจังหวัดที่มีค่าความเหลื่อมล้าน้อยที่สุดในประเทศ และกรุงเทพฯ ตกลงเป็นอันดับ ที่สองแทน

DOI

10.56808/2730-3934.1315

First Page

48

Last Page

69

Share

COinS