Journal of Demography
Abstract
คุณภาพชีวิตของผู้ขับรถแท็กซี่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการและผู้ใช้รถใช้ถนน การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ขับรถแท็กซี่ วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ขับรถแท็กซี่ และนาเสนอแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมตามมาตรฐานจริยธรรมด้วยวิธีวิจัยเอกสาร สัมภาษณ์กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ จานวน 12 คน สังเกตและสัมภาษณ์รายบุคคล จานวน 30 คน และสนทนากลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ จานวน 6 คน รวมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จานวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงและใช้เทคนิคการอ้างอิงต่อเนื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาบนฐานคิดทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของกิดเดนส์ (1984) และการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูรา (1971) พบว่า 1) สภาพและปัจจัยทางสังคมจากโครงสร้างทางสังคมเชิงนโยบายสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขทาให้ผู้ขับรถแท็กซี่ได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นรูปธรรม สภาพเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายทาให้ผู้ขับรถแท็กซี่ต้องเพิ่มชั่วโมงทางาน และการออกแบบเทคโนโลยีที่ใช้งานง่ายและมีค่าใช้จ่ายถูกลงทาให้ผู้ขับรถแท็กซี่ได้รับข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้น 2) ผู้ขับรถแท็กซี่เรียนรู้ทางสังคมในการเข้าถึงสิทธิจากภาครัฐและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกลุ่มอาชีพโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ และ 3) แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม ประกอบด้วย การส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในพื้นที่จริงและพื้นที่เสมือนพร้อมทั้งการสร้างเครือข่ายโดยใช้โซเชียลแอพพลิเคชั่นเป็นกลไกสาคัญ ผู้ขับรถแท็กซี่จึงมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมจากการพัฒนาตนเองและการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน
DOI
10.56808/2730-3934.1314
First Page
25
Last Page
47
Recommended Citation
สงวนพงศ์, อิสรา and หงษ์วิทยากร, อุบลวรรณ
(2562)
"แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม: กรณีศึกษาผู้ขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร,"
Journal of Demography: Vol. 35:
Iss.
2, Article 2.
DOI: https://doi.org/10.56808/2730-3934.1314
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jdm/vol35/iss2/2