Journal of Demography
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวโน้มการเติบโตทางประชากรของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (BMR) ในช่วง พ.ศ. 2557-2559 และผลกระทบจากการย้ายถิ่นต่อการเติบโตทางประชากร และ 2) ศึกษาผลของการเดินทางแบบไปกลับในช่วง พ.ศ. 2557-2559 ต่อจานวนประชากรภายใน BMR การศึกษานี้ใช้แนวคิดจากแบบจาลองพัฒนาการของเมือง และใช้ข้อมูลทุติยภูมิจาก 3 แหล่งข้อมูล ได้แก่ 1) การสารวจการย้ายถิ่นของประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2557-2559 2) ข้อมูลประเภท Raster ตารางกริดประชากร ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2553 และ 2558 และ 3) ข้อมูลประเภท Vector ขอบเขตการปกครองระดับอาเภอ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า BMR ยังคงอยู่ช่วงการกลายเป็นชานเมือง (Suburbanization) โดยปริมณฑลมีอัตราเพิ่มประชากรสูงกว่ากรุงเทพมหานคร จึงทาให้จานวนประชากรใน BMR ยังคงเพิ่มสูงอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราย้ายถิ่นสุทธิของปริมณฑลที่มากกว่ากรุงเทพมหานคร การขยายตัวของชานเมืองนี้เกิดขึ้นมากทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครในจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ถึงแม้ประชากรของในปริมณฑลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากอัตราเพิ่มประชากรที่สูงกว่ากรุงเทพมหานคร แต่ประชากรในปริมณฑลยังคงเดินทางไปเรียนและทางานแบบไปเช้าเย็นกลับสู่กรุงเทพมหานคร จึงเป็นปัจจัยที่ทาให้ประชากรกรุงเทพมหานครเพิ่มสูงขึ้นในช่วงกลางวัน ในขณะที่เขตปริมณฑลมีจานวนประชากรลดลง อย่างไรก็ตามช่วงปีล่าสุดของการศึกษาแสดงให้เห็นว่าอัตราเพิ่มประชากรของพื้นที่ทั้งสองได้เริ่มลดต่าลงเล็กน้อย ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการเข้าสู่ช่วงต่อไป คือ ช่วงการถดถอยของการกลายเป็นเมือง
DOI
10.56808/2730-3934.1313
First Page
1
Last Page
24
Recommended Citation
ธงชัยธนาวุฒิ, มงคล and ตั้งชลทิพย์, กาญจนา
(2562)
"พลวัตประชากรของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2557-2559,"
Journal of Demography: Vol. 35:
Iss.
2, Article 1.
DOI: https://doi.org/10.56808/2730-3934.1313
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jdm/vol35/iss2/1