•  
  •  
 

Abstract

The purposes of this research were to develop and study the effectiveness of an instructional model based on mathematization approach and realistic mathematics education to enhance mathematical problem solving and reasoning abilities. The research sample included 80 eighth grade students from 2 classrooms of Saipanyarangsit School, Pathum Thani Province. They were randomly assigned into 2 groups: the experimental groupusing the instructional model and the control group using the conventional approach. The research instruments were the test of mathematical problem solving ability and the test of mathematical reasoning ability. The data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test. The findings revealed that: 1) the developed instructional model consisted of 4 steps: connecting real experience to realistic mathematics, designing mathematicalconcepts, developing practical concepts, and reflecting to real life; 2) mathematicalproblem solving and reasoning abilities of the experimental group were higher than the control group at a significance level of .05; and 3) according to the qualitative data analysis, the experimental group?s behavior of problem solving and mathematical reasoning had a positive change.(การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพี่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์และการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสายปัญญารังสิต จังหวัดปทุมธานี จำนวน2 ห้องเรียน แบ่งเป็นห้องทดลอง 1 ห้อง และห้องควบคุม 1 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นการเชื่อมโยงสถานการณ์ในชีวิตจริงกับโลกคณิตศาสตร์ ขั้นการออกแบบแนวคิดเชิงคณิตศาสตร์ขั้นการพัฒนาแนวคิดทางคณิตศาสตร์ให้เป็นทางการและขั้นการสะท้อนคิดสู่ชีวิตจริง และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ในทิศทางที่ดีขึ้น)

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

First Page

21

Last Page

40

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.