Abstract
This research aims to systematically review and meta-analyze the effect of visualization in teaching on conceptual development in science. Visualization is the representation of an abstract concept in a tangible way through a variety of modes to help us make a connection between three levels of presentation: macro, sub-microand symbolic. Fourteen research articles from high-quality academic journals in science education indexed in Quartile 1 to 3 of SCimago database were retrieved. The effect size and the standard error of each study was calculated and estimated for the pooled effect, prediction interval, and heterogeneity using R program. The results indicate that the pooledeffect was 0.78, which means that the overall effect of visualization in science teaching on the development of scientific conception was at a moderate level. There were nine studies having effect sizes higher than the pooled effect size. Of which, the studies with very high effect sizes shared notable characteristics. The visualizations used representationscould well depict the phenomenon of interest at each and across all levels through an interactive, manipulative, and virtual environments such as augmented reality or virtual lab.(การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบค้นเอกสารอย่างเป็นระบบ และวิเคราะห์อภิมานผลของมโนภาพที่มีต่อการพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน มโนภาพเป็นสิ่งที่ใช้เป็นตัวแทนเพื่อถ่ายทอดหรืออธิบายเนื้อหาสาระทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาค จุลภาค และสัญลักษณ์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง และลดการเกิดแนวคิดที่คลาดเคลื่อน งานวิจัยนี้ได้สืบค้นและวิเคราะห์อภิมานบทความวิจัยฉบับเต็มบนฐานข้อมูล SCImago ตั้งแต่ควอไทล์ที่ 1 ถึง 3 จำนวน 14 บทความ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มีรูปแบบงานวิจัยประเภททดลองตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ผู้วิจัยคำนวณค่าอิทธิพล และความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแต่ละงานวิจัย แล้วประมาณค่าอิทธิพลรวม ช่วงการทำนาย และค่าความไม่เป็นเอกพันธ์ของผลการวิจัยด้วยโปรแกรม R ผลการวิเคราะห์อภิมาน พบว่า งานวิจัยทั้ง 14 เรื่อง มีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.78 จัดอยู่ในระดับปานกลาง และมีงานวิจัยที่มีค่าอิทธิพลสูงกว่าค่าอิทธิพลรวม จำนวน 9 เรื่องโดยมโนภาพของกลุ่มงานวิจัยที่มีค่าอิทธิพลสูงมีลักษณะร่วม ได้แก่ ใช้ตัวแทนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงแต่ละระดับและข้ามระดับได้ชัดเจน โดยผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อมโนภาพได้ เช่น แอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริม หรือโปรแกรมปฏิบัติการเสมือนจริง)
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
First Page
74
Last Page
91
Recommended Citation
Suknarusaithagul, Naphat; Puengnoi, Wannanida; and Pongsophon, Pongprapan
(2020)
"A Systematic Review and Meta-analysis on the Use of Visualization to Promote Students' Scientific Conception(การตรวจสอบเอกสารอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เชิงอภิมานการใช้มโนภาพเพื่อส่งเสริมแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน),"
Journal of Education Studies: Vol. 48:
Iss.
2, Article 5.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol48/iss2/5