Abstract
This research is an action research study with the aim to develop a non-formal education process that merges the ideas in order to build awareness of the residents in the Bang Kruai community regarding electrical power usage. The conduction of the research can be divided into 5 steps, which consisted of 1) the preparation step, 2) the planning step, 3) the execution step, 4) the results observation step, and 5) the reflective step. The sample group consisted of 15 people from the residential population of the Bang Kruai district who have willingly participated in the process. Research tools included recorded observations and conversation topics for each step of the research. Data was analyzed with a written description of the research?s commencement and the drafting of a conclusion regarding the non-formal education process. Research results discovered that the non-formal education process that merges ideas in order to build awareness of the residents regarding electrical power usage consist of 4 steps as follows: Step 1 Preparing to face problems, which clarifies the objectives of activities and the necessity of conserving electrical power for participants; Step 2 Determiningconditions for self-checks, which allow for participants to realize the causes of wasteful electrical power usage and to create action plans to reduce electrical power together; Step 3 Giving freedom in their learning and allowing each person to test their action plans on their own, and Step 4 The reflection of learned and changed behaviors in order to reflect the value of the action plans and to assess their changed behavior regarding electrical power usage.(การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบผสานแนวคิดเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกในการใช้พลังงานไฟฟ้าของผู้พักอาศัยในชุมชนบางกรวยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นการวางแผน3) ขั้นปฏิบัติการ 4) ขั้นสังเกตผล 5) ขั้นสะท้อนคิด กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ ประชาชนผู้พักอาศัยในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี จำนวน 15 คน ที่เข้าร่วมโดยความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสังเกต และประเด็นสำหรับการพูดคุยในแต่ละขั้นตอนของการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการนำผลที่ได้มาเขียนบรรยายรายงานผลการดำเนินงาน และสร้างข้อสรุปกระบวนการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบผสานแนวคิดผลการวิจัย พบว่า กระบวนการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบผสานแนวคิดเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกในการใช้พลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อมเผชิญปัญหา เป็นการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมและความจำเป็นของการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด ขั้นตอนที่2 การสร้างเงื่อนไขให้ตรวจสอบตนเอง เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ค้นหาสาเหตุของการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างฟุ่มเฟือย และสร้างแผนปฏิบัติการลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ขั้นตอนที่ 3 การให้อิสระในการเรียนรู้ เป็นช่วงเวลาที่บุคคลนำแผนปฏิบัติการไปทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง ขั้นตอนที่ 4 การสะท้อนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ เป็นการสะท้อนคุณค่าที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติ และประเมินพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าของตนเองที่เปลี่ยนแปลงไป)
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
First Page
370
Last Page
386
Recommended Citation
Hansonthia, Arak; Supanyo, Weerachat; and Ratana-Ubol, Archanya
(2020)
"The Development of the Awareness in Electricity Power Consumption of Residents in Bang Kruai Community, Nonthaburi Province(การพัฒนากระบวนการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบผสานแนวคิดเพื่อการเสริมสร้างจิตสำนึกการใช้พลังงานไฟฟ้าของผู้พักอาศัยในชุมชนบางกรวย จ.นนทบุรี),"
Journal of Education Studies: Vol. 48:
Iss.
1, Article 20.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol48/iss1/20