•  
  •  
 

Abstract

The objectives of this study are to analyze the needs assessment of underprivileged children?s essential life skills for social inclusion and to categorize the essential life skills for the underprivileged children needed to enhance social inclusion education. The data collection is comprised of a survey questionnaire, which was administered to two groups of the underprivileged and normal children and their teachers living in the risky urban area, 2,046 participants in total, and an in-depth interview which was designed for thirteen of administrators, academics, parents and successful underprivileged children. The result suggested that the underprivileged children were accepted as social inclusion at the moderate level, lower than those of the normal ones; however, they both have the somewhat moderate level of essential life skills without any statisticallysignificant differences among the groups. Generally, the normal children were expected to have higher level of these skills with significant differences at .05 level. The frequently mentioned skills include: critical thinking, creative thinking, problem-solving, effective communication, decision-making, self-awareness, coping with emotion, and interpersonal relationship.(การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพและความต้องการในการพัฒนาทักษะชีวิตที่จําเป็นสําหรับเด็กด้อยโอกาสและการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม และเพื่อวิเคราะห์ทักษะชีวิตที่จําเป็นสําหรับเด็กด้อยโอกาสในการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จํานวน 2,046 คน ในพื้นที่ 3 จังหวัดกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ประกอบด้วยกลุ่มที่ 1 เป็นเด็กด้อยโอกาสประเภทยากจนที่อาศัยอยู่ในบริบทสังคมเมืองที่มีความเสี่ยงและครู กลุ่มที่ 2 เป็นเด็กปกติทั่วไปที่มีพื้นฐานและบริบทสังคมใกล้เคียงกัน จํานวนทั้งหมด 2,046 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้ปกครองและเด็กด้อยโอกาสที่ประสบความสําเร็จ จํานวน 13 คน วิเคราะห์มูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณและการหาค่า PNImodified ผลการวิจัยพบว่า เด็กด้อยโอกาสได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคมในระดับปานกลางค่อนข้างตํ่ากว่าเด็กทั่วไป รวมทั้งมีระดับทักษะชีวิตอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างตํ่าเช่นเดียวกับเด็กทั่วไปและแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติของทั้งสองกลุ่ม ในภาพรวมเด็กทั่วไปถูกคาดหวังให้มีทักษะชีวิตที่สูงกว่าเด็กด้อยโอกาส ซึ่งความคาดหวัดการมีทักษะชีวิตของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยมีค่าที (t) เท่ากับ 2.50 ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ .05 สําหรับทักษะชีวิตที่จําเป็นของเด็กด้อยโอกาสที่ควรได้รับการพัฒนาในการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม มีจํานวน 8 ทักษะ ประกอบด้วย 1) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์ 3) ทักษะการแก้ปัญหา 4) ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 5) ทักษะการตัดสินใจ 6) ทักษะการตระหนักรู้ในตน 7) ทักษะการจัดการกับอารมณ์ และ 8) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล)

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

First Page

346

Last Page

365

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.