•  
  •  
 

Abstract

The purpose of this study was to develop and study the effectiveness of an instructional model based on inquiry-based learning and 360 degree feedback approaches to enhance the English argumentative writing ability of undergraduate students. Thesample was 36 sophomore English major students of Rajamangala University ofTechnology Phra Nakhon. The data collection instruments were the argumentativewriting ability tests. Data were analyzed by the arithmetic mean, standard deviation, and t-test.The findings of this study revealed that 1) the instructional model based oninquiry-based learning and 360 degree feedback approaches consisted of 4 steps: 1.1 stimulating curiosity, 1.2 making a plan to create new knowledge, 1.3 creating a new task, and 1.4 enhancing learning through reflection. 2) The results of the effectivenessof implementing the developed instructional model demonstrated that: 2.1) The experimental group?s English argumentative writing ability was higher after studying withthe developed instructional model at the .05 level of significance; and 2.2) theexperimental group and control group had no significant difference in Englishargumentative writing ability at the level of .05.(การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบ ร่วมกับแนวคิดการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ 360 องศา และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงโต้แย้งของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ชั้นปีที่ 2 วิชาเอกภาษาอังกฤษ จํานวน 36 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงโต้แย้ง สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการกระตุ้นความสงสัย ขั้นการวางแผนการสร้างความรู้ใหม่ ขั้นการสร้างสรรค์ผลงาน และขั้นการสะท้อนคิดเพื่อการพัฒนา 2. การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า 2.1) ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงโต้แย้งของนักศึกษากลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) นักศึกษากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงโต้แย้งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05)

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

First Page

361

Last Page

383

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.