•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาพัฒนาการหลักสูตรการสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษาและการนำหลักสูตรไปใช้ของโรงเรียนท้องถิ่นและโรงเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ภาคเหนือ ผลการวิจัยพบว่า สมัยพญามังรายมหาราช กษัตริย์พระองค์แรก ใช้วัดเป็นสถานที่อ่านเขียนตัวอักษรล้านนา ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้ส่งเสริมให้คนล้านนาเรียนภาษาไทย หลักสูตรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้ารับราชการมากขึ้นอันเป็นผลมาจากนโยบายชาตินิยม และหลักสูตรในยุคหลังสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช 2475 มีจุดเน้นที่ความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงมีนโยบายสร้างความเป็นชาติเพื่อความน้ำหนึ่งใจเดียวกัน กำหนดให้ นักเรียนทุกคนต้องเรียนภาษาไทยอย่างเดียว ทั้งมีพระราชบัญญัติประถมศึกษาเกิดขึ้น การศึกษาในล้านนาจึงเป็นระบบแบบเดียวกับส่วนกลางเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยสามารถอ่านออกเขียนได้ มีความภาคภูมิใจ ในความเป็นไทย แต่การจัดการศึกษาไม่ได้คำนึงถึงบริบทที่เปลี่ยนแปลงของสังคมภาคเหนือที่มีแรงงานอพยพ แรงงานข้ามชาติ และกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายดังนั้นหลักสูตรจากนโยบายส่วนกลางจึงไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนในภาคเหนือ

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.47.2.27

First Page

491

Last Page

506

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.