Abstract
บทบาทสำคัญประการหนึ่งของการศึกษาระดับอุดมศึกษา คือ การผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ เชิงนวัตกรรม ซึ่งบัณฑิตเหล่านี้เป็นที่ต้องการของบริษัทที่มุ่งเน้นผลิตสินค้าหรือบริการในรูปแบบใหม่และ สร้างสรรค์ เพื่อหลีกหนีออกจากการแข่งขันในสงครามการตัดราคา บทความวิจัยนี้จึงมุ่งนำเสนอผล การศึกษาแนวทางและกลไกที่มหาวิทยาลัยสามารถสร้างให้นักศึกษามีทักษะเชิงนวัตกรรม เพื่อจะจบไปเป็น บัณฑิตที่มีความสามารถเชิงนวัตกรรมในตลาดแรงงาน การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้เก็บรวบรวม ข้อมูลหลักโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกคณบดี 27 ท่าน และรองคณบดี 3 ท่าน จากคณะวิชาที่มีหลักสูตรการเรียน ด้านการสร้างสรรค์ จำนวนทั้งสิ้น 30 คณะ ในมหาวิทยาลัย 10 แห่ง ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร อีกทั้งได้ ศึกษาข้อมูลเอกสารจากคณะวิชาดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า คณะฯ ได้ใช้แนวคิดแบบพหุวิทยาการและ การเรียนรู้ร่วมกันในการสร้างทักษะเชิงนวัตกรรมของนักศึกษา ผ่านกลไก 3 แบบ ได้แก่ การสร้างหลักสูตร แบบบูรณาการ การออกแบบวิธีการสอนอย่างเหมาะสม และการสนับสนุนกิจกรรมเสริมหลักสูตรของ นักศึกษา ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยควรมีบทบาทในการสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการสร้างทักษะเชิง นวัตกรรมของนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาครัฐควรกำหนดนโยบายที่กระตุ้นและสนับสนุนมหาวิทยาลัย ในการสร้างทักษะเชิงนวัตกรรมให้แก่นักศึกษา เพื่อจะช่วยให้นักศึกษาสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานและ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยนวัตกรรม
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
First Page
487
Last Page
507
Recommended Citation
Sutthijakra, Sawitree
(2019)
"การบ่มเพาะทักษะเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาปริญญาตรีในคณะวิชาสร้างสรรค์ในประเทศไทย,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
1, Article 26.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss1/26