Article Title
Abstract
สุนทรียะ คือ ความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งที่งดงามหรือรื่นรมย์ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติหรือ งานศิลปะ ที่พัฒนาได้ด้วยการศึกษาและฝึกฝนจนเป็นนิสัย เกิดรสนิยม ซึ่งเป็นพื้นฐานที่มีคุณค่าต่อคุณภาพ ของชีวิตมนุษย์ การจัดการศึกษาทางด้านสุนทรียะมีความสำคัญต่อนักเรียนในวัยประถมศึกษาที่ควรได้รับ การวางรากฐานของพัฒนาการที่ดีอันจะทำให้เติบโตขึ้นเป็นผู้ที่มีสุนทรียภาพ พหุศิลปศึกษาเชิงแบบแผน เป็นทฤษฎีการจัดการเรียนการสอนศิลปศึกษาที่เน้นการบูรณาการความรู้ 4 แกน คือ ประวัติศาสตร์ศิลป์ ศิลปปฏิบัติ ศิลปวิจารณ์และสุนทรียภาพ ซึ่งเป็นแกนที่สำคัญต่อการพัฒนานักเรียนและจัดการเรียนรู้ให้ นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงด้านสุนทรียะด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ เพื่อให้นักเรียนได้สังเกต สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย มี ความละเอียดอ่อนลึกซึ้งในการคิดพิจารณาและส่งเสริมสุนทรียะของนักเรียน ซึ่งรูปแบบการจัดการศึกษา นอกสถานที่ร่วมกับพหุศิลปศึกษาเชิงแบบแผนเพื่อส่งเสริมสุนทรียะของนักเรียนประถมศึกษามี 7 ขั้นตอน คือ (1) กำหนดกิจกรรมการไปทัศนศึกษา (2) สำรวจสถานที่จริง (3) วางแผนจัดกิจกรรมการศึกษา นอกสถานที่ (4) จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม (5) จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลและ สถานที่ก่อนการไปทัศนศึกษา (6) จัดกิจกรรมตามแผนและกำหนดการที่วางไว้ และ (7) สรุป ประเมินผล และรายงานผล เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมต่อไป
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
First Page
415
Last Page
433
Recommended Citation
จงรักวิทย์, สมใจ
(2019)
"รูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่ร่วมกับพหุศิลปศึกษาเชิงแบบแผน เพื่อส่งเสริมสุนทรียะของนักเรียนประถมศึกษา,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
1, Article 22.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss1/22