•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของกิจกรรมก่อนการสอบที่ส่งผลต่อผลการสอบและนัยสําคัญของเพศในแต่ละกรณี เครื่องมือที่ใช้ในการทําวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามและคะแนนสอบอย่างเป็นทางการในรายวิชาสังคมศึกษา ผู้ตอบแบบสอบถาม (n = 358, เพศหญิง 224, เพศชาย 134) ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มหนึ่งในห้ากลุ่มตามกิจกรรมก่อนการสอบที่ได้เลือกไว้คือ การฝึกจดจําเนื้อหา (PRSM), การเขียนหรือการทบทวนเนื้อหาที่จดไว้ (WRCN), การกระตุ้นสมอง (BCS), อารมณ์และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (SI) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยค่าพิสัยควอร์ไทล์ของคะแนนสอบ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการทดสอบค่าที (t-test) ด้วยนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ผลการวิจัยพบว่า 1) โดยรวมคะแนนสอบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัระหว่างกลุ่ม 2) ความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของคะแนนสอบเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศพบเฉพาะในสามกลุ่มจากห้ากลุ่ม 3) ความแตกต่างระหว่างเพศมีค่ามากที่สุดในกลุ่ม SI การวิจัยในอนาคตควรพิจารณาความแตกต่างระหว่างเพศในแต่ละกลุ่ม โดยการทดสอบความรู้ความเข้าใจในรูปแบบต่าง ๆ และผลของการปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ภายในกลุ่ม SI

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.47.0.7

First Page

118

Last Page

138

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.