Abstract
The purposes of this research were 1) to develop an exercise program using sensoryintegration theory with Thai wisdom to improve health-related physical fitness and social skills of autistic children, and 2) to evaluate the effectiveness of an exercise program using sensory integration theory with Thai wisdom to improve health-related physical fitness and social skills of autistic children. The subjects of this study were 8 children of 12?18 years old who were diagnosed with autism at a moderate level. Those autistic children were purposively selected. The subjects were trained in 45 minute sessions, 3 times a week for 8 weeks. Data were collected before the experiment, immediately after the experiment and again after 2 weeks, and were analyzed by descriptive statistic, one-way ANOVA with repeated measures and t-test. The research results findings were as follows:1) The develop program consisted of 3 intervention activities: Thai traditional play using a loincloth, individual exercise, dual exercise, and group exercise. There were 26 exercise posts and 5 steps in the exercise. The program had an aggregate IOC of 0.94. 2) The health-related physical fitness of autistic children after the experiment and in the following 2 weeks was higher than before the experiment at a 0.5 level of significance. 3) Skills in social interaction, social communication and working with others compared to after the experiment was higher than before the experiment at a 0.5 level of significanc.(การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก และ (2) ประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กออทิสติกที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะออทิสซึ่มอยู่ในระดับปานกลาง อายุ 12?18 ปี จำนวน 8 คน จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงดำเนินการทดลอง 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 ครั้ง ครั้ง ๆ 45 นาที ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 2 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ Repeated One-way ANOVA Measurement การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทยโดยใช้ผ้าขาวม้า การออกกำลังกายแบบเดี่ยว การออกกำลังกายแบบเป็นคู่และการออกกำลังกายแบบเป็นกลุ่ม จำนวน 26 ท่า และ 5 ขั้นตอนการออกกำลังกาย โดยมีดัชนีความสอดคล้อง 0.94 2) สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของเด็กออทิสติกหลังการทดลองและหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 2 สัปดาห์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ด้านทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ด้านการสื่อสารทางสังคมและด้านการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น)
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
First Page
150
Last Page
168
Recommended Citation
Sukdee, Nirut
(2019)
"Development of Exercise Program Using Sensory Integration Theory with Thai Wisdom to Improve Health–Related Physical Fitness and Social Skills of Autistic Children(การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก),"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
0, Article 33.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss0/33