•  
  •  
 

Article Title

Promoting Analytical Thinking of Early Childhood from Master Parents in Surat Thani Province(แนวทางการจัดกิจกรรมเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองต้นแบบในจังหวัดสุราษฎร์ธานี)

Authors

Author #1

Abstract

The objectives of this study were to study and synthesize the concepts of activity arrangement which were created to promote the analytical thinking of early childhood by master parents. The samples were 19 guardians in Surat Thani who parented their children to succeed in life and working. The research instrument was an in-depth interview. An inductive method was used to analyze the data. The research results were as follows:Activity arrangement in parenting use to enhance the analytical thinking for successful children; 1) to train children to be responsible by working, 2) to be reasonable over emotional, 3) to follow up children continuously, 4) to be as a coach and 5) to parent children with religious principle. They parented children under the belief of the nature in children?s learning, the atmosphere arrangement to promote children?s learning, providing an opportunity to think independently and time, and providing consistent loving and care. Which uses 10 household chores,10 kitchen chores,12 daily routine activities, and 13 hobbies and recreations. Factors which were able to influence the analytical thinking of early childhood were activity types, the activity arrangement applied by the master parents included 5 concepts of equipment types, ways of children?s participation, as well as the guardian roles in motivating children?s notice, questioning to arouse their thinking, answering their questions, accepting their actions, and modeling.(การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์แนวทางการจัดกิจกรรมที่ผู้ปกครองต้นแบบใช้เสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของเด็กช่วงปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มีประสบการณ์เลี้ยงลูกให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสรุปอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการจัดกิจกรรมที่ผู้ปกครองต้นแบบใช้เสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ให้ทำให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตเกิดจากแนวคิด ความเชื่อ ความรู้สึกยอมรับจากประสบการณ์ตรง5 ประการ ได้แก่ 1) การฝึกให้รู้จักรับผิดชอบด้วยการทำงาน 2) การใช้เหตุผลอยู่เหนืออารมณ์ 3) การกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง 4) การเป็นโค้ช 5) การใช้หลักธรรมทางศาสนา ภายใต้ความเชื่อเรื่องธรรมชาติการเรียนรู้ตามวัย การจัดสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ การให้อิสระทางความคิดและเวลา ความเสมอต้นเสมอปลายในความรักและเอาใจใส่ และใช้กิจกรรมในหมวดงานบ้าน 10 กิจกรรม หมวดงานครัว 10 กิจกรรม หมวดกิจวัตรประจำวัน 12 กิจกรรม หมวดงานอดิเรกและนันทนาการ 13 กิจกรรม จากการให้ลูกทำกิจกรรมดังกล่าว พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ได้แก่ ชนิดของกิจกรรม ลักษณะของสื่ออุปกรณ์วิธีการขั้นตอนที่เด็กมีส่วนร่วม บทบาทของผู้ปกครองในการกระตุ้นคิด จูงใจให้สังเกต ใช้คำถามชวนคิด การตอบข้อสงสัย ยอมรับการกระทำของเด็ก และเป็นแบบอย่าง)