•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้จัดการศึกษาทางเลือกที่มีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี จำนวน 106 คน และการสัมภาษณ์รายกรณี โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ผู้จัดการศึกษาทางเลือกที่มีความหลากหลายตามกลุ่มการเรียนรู้ จำนวน 9 ราย เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์บทเรียนที่ดีของการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการศึกษาทางเลือก จากนั้นนำผลวิเคราะห์มาสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 ท่าน เพื่อให้ได้รูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมในการส่งเสริมการศึกษาทางเลือก ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนที่ดีของการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการศึกษาทางเลือก ได้แก่ 1.1) แนวทางสำหรับผู้จัดการศึกษาทางเลือก มีดังนี้ 1.1.1) การสร้างการเรียนรู้ ควรมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณค่าและคุณภาพของผู้เรียนจากแรงบันดาลใจ และความเชื่อมั่นว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่แก้ปัญหาของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง 1.1.2) การจัดการการเรียนรู้ควรคำนึงถึงบริบทและสภาพชุมชนของผู้เรียน 1.1.3) การพัฒนาการเรียนรู้ ควรให้ความสำคัญการพัฒนา ?คน? ทั้งผู้จัดและผู้เรียน บนฐานการเรียนรู้ด้วยตนเองและบูรณาการความร่วมมือกับภาคการศึกษา 1.2) ปัจจัยการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการศึกษาทางเลือก ได้แก่ บุคลากรที่มีความเข้าใจในการจัดการศึกษาแบบองค์รวม มีทักษะในการบริหารจัดการ มีความรู้ในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับกฎระเบียบของภาครัฐและเหมาะสมกับความต้องการชุมชน 2) รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการศึกษาทางเลือกเป็นการเรียนรู้ที่มีหลักการ กระบวนการ และผลการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงประสานกันเพื่อชีวิตที่สมบูรณ์ โดยมี 2.1) หลักการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน 3 ประการ ได้แก่ 2.1.1) หลักคิดหรือเป้าหมายในการจัดการศึกษา คือ ?เพื่อชีวิต จิตวิญญาณ และภูมิปัญญา? 2.1.2) หลักวิชาที่สำคัญ คือ ?วิชาชีวิต คิดจัดการ สานชุมชน? เป็นการเรียนรู้บนฐานชุมชน โดยใช้ทักษะการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองเป้าหมายในชีวิต และ 2.1.3) หลักปฏิบัติ ?เรียนรู้องค์รวม ร่วมมือร่วมใจ ไปสู่อนาคต? เพื่อการเรียนรู้ในอนาคต 2.2) กระบวนการเรียนรู้ ?บ่มเพาะ ? เสาะหา ? เผชิญหน้า ? พัฒนา? 2.3) ผลการเรียนรู้ คือ ผู้เรียนที่มีความพร้อม ความรับผิดชอบในการกระทำหน้าที่ของตนเอง และมีศักยภาพในการส่งเสริมชุมชนสังคมด้วยการสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้อื่น เสมือนกับรูปแบบ ?รวงรังแห่งการเรียนรู้? ของผึ้งงานที่ดำรงชีวิตและมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อชุมชนสังคม โดยมีรวงผึ้งเป็นแหล่งฟูมฟักและเรียนรู้

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.46.2.14

First Page

260

Last Page

280

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.