•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยและพัฒนา ประยุกต์ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบของสมรรถนะและแนวทางการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ และติดตามประเมินผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทดลองใช้ ขั้นการวิจัยเก็บข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร การถอดบทเรียนจากแนวปฏิบัติที่ดีในพื้นที่ และการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ผู้ให้ข้อมูล คือ แกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นเก่า แกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ภาคีเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นการพัฒนาเก็บข้อมูลด้วยการทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ แกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ชมรมผู้สูงอายุตำบลวังน้ำเขียว จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบก่อน-หลัง แบบประเมินทักษะ แบบประเมินคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม แนวทางการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ แบ่งเป็น 5 ด้าน คือ ผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประเภทของกิจกรรมการเรียนรู้และเนื้อหา วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและเทคโนโลยี และวิธีการวัดผลประเมินผล 2) นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ องค์ประกอบสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ 3) ผลการประเมินร่างนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ในภาพรวมเหมาะสมกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ( x?= 4.85) และมีประโยชน์สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ (x? = 4.70) ในระดับมากที่สุด โดยองค์ประกอบของกิจกรรมการเรียนรู้มีความสอดคล้องกันโดยมีค่า IOC มากกว่า 0.50 4) ผลการทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ พบว่า คะแนนการประเมินผลทางด้านความรู้หลังเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มตัวอย่าง (x? =17.30) สูงกว่าคะแนนการประเมินผลด้านความรู้ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม (x? =12.75) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดผ่านเกณฑ์การประเมินและมีคะแนนอยู่ในระดับดี และผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด ผลการพิจารณาคำอธิบายสมรรถนะหลักและพฤติกรรมบ่งชี้ของแกนนำชมรมผู้สูงอายุ แบ่งเป็น สมรรถนะหลัก 5 ข้อ สมรรถนะในการบริหารสำหรับแกนนำชมรมผู้สูงอายุ 5 ข้อ และสมรรถนะตามตำแหน่งงานของผู้ปฏิบัติงาน 5 ข้อ และ 5) ผลการติดตามประเมินผล พบว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทจริงและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.45.1.12

First Page

194

Last Page

210

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.