Article Title
Abstract
ทักษะสำคัญสำหรับครูปฐมวัย คือ การเป็นผู้สังเกตที่มีไหวพริบ งานวิจัยนี้เป็นโครงการที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนำวิธีการสังเกตอย่างใคร่ครวญมาใช้ในการพัฒนากระบวนการไตร่ตรองตนเองของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างทักษะการสังเกตและความสามารถในการไม่รีบตัดสิน ผู้เข้าร่วม คือ นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 8 คน ระยะเวลาในการวิจัย 13 สัปดาห์ ประกอบด้วยการฝึกปฏิบัติในการสังเกตอย่างใคร่ครวญ 2 ลักษณะ คือ ก) การสังเกตตนเอง ได้แก่ การเต้นรำ การสงบนิ่ง การจัดดอกไม้ การระบายสีน้ำ การปั้นดิน และการวาดมันดาลา และ ข) การสังเกตสิ่งภายนอกทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ได้แก่ ก้อนหิน ต้นไม้ และเด็ก นิสิตได้รับมอบหมายให้เขียนบันทึกสะท้อนประสบการณ์ประเด็นการตระหนักรู้ในตนเองที่เกิดขึ้นจากการฝึกปฏิบัติ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลก่อนและหลังการทดลอง การสังเกตอย่างใคร่ครวญอาจเป็นตัวช่วยครูในการไตร่ตรองไปสู่การตระหนักรู้ที่สูงขึ้น และนำไปสู่ความเป็นธรรมในการสังเกตและรับมือกับเด็กในชั้นเรียน
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
First Page
23
Last Page
38
Recommended Citation
Khayankij, Sasilak
(2015)
"Contemplative Observation as a Tool for Self-Reflection Enhancement of Early Childhood Graduate Students,"
Journal of Education Studies: Vol. 43:
Iss.
3, Article 2.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol43/iss3/2