•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เปรียบเทียบผลการประมาณค่า พารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบสำหรับแบบสอบรูปแบบผสม ระหว่างวิธีการประมาณค่าภาวะ น่าจะเป็นสูงสุดชายขอบ (MML) และวิธีการปรับเรียบเคอร์เนล (KS) ๒) วิเคราะห์สัดส่วนของขนาด ตัวอย่าง ความยาวของแบบสอบ และเปอร์เซนต์ของข้อสอบที่ไม่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบ ภายใต้เงื่อนไขการฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นด้านการเลือกใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบ ในการประมาณ ค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบระหว่างวิธี MML และวิธี KS ที่ส่งผลต่อค่าประมาณพารามิเตอร์ ความสามารถของผู้สอบ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้ข้อมูลจำลองภายใต้การเขียนคำสั่งการจำลอง ข้อมูลและประมวลผลด้วยโปรแกรม R จากเงื่อนไขในการศึกษา ๒๗ เงื่อนไข ดังนี้ [ขนาดตัวอย่าง ๓ เงื่อนไข ได้แก่ ๓๐๐ ๕๐๐ และ ๑,๐๐๐ แทนตัวอย่างขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ตามลำดับ) x (ความยาวของ แบบสอบ ๓ เงื่อนไข ได้แก่ ๑๐ ๒๐ และ ๔๐ ข้อ แทนความยาวของแบบสอบสั้น ปานกลางและยาวตาม ลำดับ) x (เปอร์เซนต์ของข้อสอบที่ไม่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบภายใต้เงื่อนไขการฝ่าฝืน ข้อตกลงเบื้องต้นด้านการเลือกใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบ ๓ เงื่อนไข ได้แก่ ๑๐ ๒๐ และ ๓๐ เปอร์เซนต์) ผลการวิจัยในภาพรวมสรุปได้ว่า ๑) ผลการวิเคราะห์ เปรียบเทียบค่าประมาณพารามิเตอร์ ความสามารถของผู้สอบ สำหรับแบบสอบรูปแบบผสม ระหว่างวิธี MML และวิธี KS กรณีข้อสอบ ที่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบ การประมาณค่าความสามารถของผู้สอบโดยรวมด้วยวิธี MML มีค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (AMSE) น้อยกว่าวิธี KS และกรณีข้อสอบ ที่ไม่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบภายใต้เงื่อนไขการฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นด้านการเลือกใช้ โมเดลการตอบสนองข้อสอบ การประมาณค่าความสามารถของผู้สอบโดยรวมด้วยวิธี MML มีค่า AMSE มากกว่าวิธี KS ๒) ผลการวิเคราะห์สัดส่วนของขนาดตัวอย่าง ความยาวของแบบสอบ และเปอร์เซนต์ของข้อสอบที่ไม่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง พบว่า ภายใต้เงื่อนไขการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบด้วยวิธี KS สำหรับแบบสอบที่มีเปอร์เซนต์ ของข้อสอบที่ไม่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างขนาด ตัวอย่างและจำนวนข้อสอบร่วมกันส่งผลต่อค่าดัชนี AMSE อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (F=3.398, p=.01)

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.42.3.2

First Page

19

Last Page

38

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.