•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ๑) เพื่อ ประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษา ในด้านการสร้างหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตรสถาน ศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน ๒) เพื่อเปรียบ เทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษาในด้านการสร้างหลักสูตร การใช้หลักสูตร และ การประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษาระหว่างกลุ่มผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน ๓) เพื่อศึกษาปัญหาที่พบในการสร้างหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษา ตาม ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ๔) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการ สร้างหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษา และ ๕) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ แกนกลาง (หลักสูตร ๗๐:๓๐) ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า ผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษา ให้ความสําคัญมากต่อการสร้าง หลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียนให้ความสำคัญมาก ต่อการใช้หลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษา เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นด้านการสร้าง หลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมในบางประเด็นแตกต่างกัน ปัญหาที่พบในการสร้างหลัก สูตรได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านหลักสูตร และปัญหาด้านนักเรียน ปัญหาด้านการใช้หลักสูตร ได้แก่ ปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาด้านบุคลากร และปัญหาด้านการประเมินผลหลักสูตร ได้แก่ ปัญหาด้านการ วัดและประเมินผล ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จในด้านการสร้างหลักสูตร ได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ที่ดี บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการจัดทําหลักสูตร และมีทรัพยากรที่เพียงพอ ด้านการใช้หลักสูตร ได้แก่ การตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนเอง การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน การมีงบประมาณที่เพียง พอ และการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้แกนกลาง (หลักสูตร ๗๐:๓๐) ว่า หลักสูตรดังกล่าวทําให้เกิดมาตรฐานในการสร้างหลักสูตรที่เหมือนกันทั่วประเทศ โดย สามารถเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษาได้ตามความเหมาะสม และหลัก สูตรสถานศึกษาที่สร้างขึ้น ไม่แตกต่างมากนักจากหลักสูตรสาระการเรียนรู้แกนกลาง เนื่องจากวิเคราะห์มาจาก มาตรฐานตัวเดียวกัน

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.35.2.4

First Page

46

Last Page

63

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.