Abstract
รูปแบบการศึกษาไทยที่สมดุลกับบริบทและสังคมไทย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพอนาคตของประเทศไทยและโลก ในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อนําเสนอรูปแบบการศึกษาไทยที่สมดุลกับบริบทของสังคมไทย ในศตวรรษที่ ๒๑ โดยใช้วิธีการวิจัยตามกระบวนการอนาคตปริทัศน์ ศึกษาจากเอกสาร ตำรา ผลงานวิจัย บทความ และรายงานการประชุมสัมมนา จำนวนประมาณ ๒๐๐ รายการ และเก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๓๐ คน เพื่อเป็นฐานในการนำเสนอ รูปแบบการศึกษาไทยฯ ผลจาการอ่านพิเคราะห์เอกสาร ได้บริบทของประเทศไทยและโลก และได้ นําเสนอภาพอนาคตของโลกในศตวรรษที่ ๒๑ ในรูปแบบของแผนภูมิสําหรับบริบท ของรูปแบบการศึกษาฯ เสนอในรูปของเคนโดแกรม ๕ ประเภท คือ (๑) บริบทของ ประเทศไทยสู่อนาคต (๒) บริบทของประเทศไทย : เศรษฐกิจ (๓) บริบทของประเทศไทย : สังคม-วัฒนธรรม (๔) บริบทของประเทศไทย : การเมือง และ (๕) บริบทของ ประเทศไทย : การศึกษา อันนำผู้วิจัยไปสู่การเสนอรูปแบบการศึกษาฯ ในรูปของ แผนภูมิและการเปรียบเทียบภาพที่มีการปฏิรูปและขาดการปฏิรูปตามรูปแบบฯ ตามองค์ประกอบ ดังนี้ (๑) ภาพรวม (๒) ศีลธรรม จรรยาและค่านิยม (๓) หลักสูตร (๔) การเงินการสอน (๕) ศาสตร์ (๖) การประเมินผล (๗) ทิศทางและทรัพยากร และ (๔) การบริหาร ข้อค้นพบที่สำคัญ เสนอในรูปของแผนภูมิระลอกแห่งการศึกษา อันเป็นผล จากการปฏิรูปสาระเพื่ออนาคตในศตวรรษที่ ๒๑ ตามรูปแบบฯ ซึ่งเน้นผลกระทบต่อสาระ การศึกษา 4 ระดับ ดังนี้ คือ (๑) เอกัตบุคคล (๒) ระหว่างบุคคล (๓) องค์กร (๔) ชุมชน (๕) วัฒนธรรม (๖) ชาติ (๗) นานาชาติ และ (๔) สากล ในศตวรรษที่ ๒๑
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
First Page
69
Last Page
82
Recommended Citation
อาชวอำรุง, พรชุลี
(1998)
"บทวิจัย : รูปแบบการศึกษาไทยที่สมดุลกับบริบทและสังคมไทย ในศตวรรษที่ ๒๑,"
Journal of Education Studies: Vol. 27:
Iss.
1, Article 9.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol27/iss1/9