Journal of Social Sciences
Publication Date
2019-01-01
Abstract
มนุษย์เกิดมาพร้อมกับ "เจตจำนงเสรี" (free will) กล่าวคือ มนุษย์มีเสรีภาพในการตัดสินใจเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำการสิ่งใดก็ได้บนเส้นทางชีวิตของตน แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายอย่างซึ่งถือได้ว่าอยู่เหนือความสามารถในการเลือกของมนุษย์ หนึ่งในนั้นก็คือ "จุดเริ่มต้นแห่งชีวิต" หรือเราปราศจากเสรีภาพในการเลือกสภาพครอบครัวตั้งต้นของตนได้ แต่ครอบครัวนั้นกลับเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งชีวิต หากสถาบันพื้นฐานแห่งชีวิตและสังคมทำหน้าที่บกพร่องหรือรุนแรง แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อสถาบันทางสังคมอื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การศึกษานี้พบว่า ทฤษฎีทางสังคมวิทยาแบบดั้งเดิมที่กล่าวถึงการสืบทอดหรือการผลิตซ้ำความรุนแรง (reproduction of violence) ถูกทำให้มีน้ำหนักลดลงด้วยอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและบริบททางสังคมใน "ยุคหลังสังคม" (post-societal phase) โดยบทความนี้จะสะท้อนให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้วมนุษย์สามารถปลดปล่อยตัวเองออกจาก "มโนทัศน์ทายาทความรุนแรง" ซึ่งถูกปลูกฝังมาจากประสบการณ์ความรุนแรงในวัยเด็กได้ ไม่ว่าผู้นั้นจะเผชิญกับสถานการณ์เยี่ยงไรก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์เสมือนผลผลิตทางสังคมซึ่งมาพร้อมกับเมล็ดพันธุ์แห่งคุณค่าที่ทรงพลัง มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงตนเองและมีความสามารถในการสร้างสรรค์สังคมไปในวิถีทางที่ดีขึ้นต่อไปได้
First Page
83
Last Page
108
Recommended Citation
พราหมหันต์, นญา and ศรีรัตนบัลล์, ภาวิกา
(2019)
"อิสรภาพจากมโนทัศน์ทายาทความรุนแรง,"
Journal of Social Sciences: Vol. 49:
Iss.
2, Article 4.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cujss/vol49/iss2/4