Journal of Social Sciences
Publication Date
2019-01-01
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองของคนไทยว่าเป็นการเลือกเพราะเป็นตัวแทนความคิดทางการเมืองของตนหรือเป็นผู้สมัครและ/หรือพรรคการเมืองที่เขาคาดว่าจะชนะการเลือกตั้ง หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน ตัวอย่างจำนวน 1,500 คน มาจากชุดข้อมูลการสำรวจระดับชาติ "ความคิดเห็นของประชาชนชาวไทยต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2554 ก่อนการเลือกตั้ง" โดยสถาบันพระปกเกล้าและสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการทดสอบความเป็นอิสระและการสร้างตัวแบบล็อกลิเนียร์พบว่า คนไทยจะเลือกลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองที่เป็นทั้งตัวแทนความคิดทางการเมืองของตนและมีแนวโน้มว่าจะชนะด้วย ดังนั้นการเป็นตัวแทนความคิดทางการเมืองเป็นสิ่งที่นักการเมืองและพรรคการเมืองต้องให้ความสำคัญในการหาเสียง พร้อมทั้งต้องทำให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ว่าตนหรือพรรคจะชนะการเลือกตั้ง การวิจัยในอนาคตควรสนใจศึกษายุทธศาสตร์การสื่อสารทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพรรคการเมืองขนาดกลางและเล็กที่จะทำให้ประชาชนรู้สึกว่ามีโอกาสชนะการเลือกตั้ง
First Page
61
Last Page
82
Recommended Citation
ศักดิ์วรวิชญ์, อานนท์ and วงศ์สุขุมอมร, สุพัฒน์
(2019)
"ความคาดหวังว่าผู้สมัครจะชนะเลือกตั้งเป็นตัว กำกับความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นตัวแทน ความคิดทางการเมืองและข้อตัดสินใจเลือก,"
Journal of Social Sciences: Vol. 49:
Iss.
2, Article 3.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cujss/vol49/iss2/3