Journal of Social Sciences
Publication Date
2019-01-01
Abstract
ทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เป็นรากฐานของแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมสมัยใหม่ แม้จะเป็นแนวคิดทางรัฐธรรมนูญที่พัฒนาขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ18 แต่หลักการแบ่งแยกอำนาจก็ยังคงถูกยกมาอ้างในข้อโต้แย้งและวาทกรรมทางการเมืองในปัจจุบัน งานวิจัยเรื่อง แนวคิดและหลักการว่าด้วยการละเมิดอำนาจรัฐสภา เป็นตัวอย่างของความพยายามนำหลักการแบ่งแยกอำนาจมาปรับใช้ศึกษาการเมืองในมิติรัฐธรรมนูญของไทยอย่างเป็นระบบ แต่คำอธิบายหลักการแบ่งแยกอำนาจที่ปรากฏในงานวิจัยดังกล่าวสะท้อนถึงความเข้าใจที่คลุมเครือ ขาดมิติความซับซ้อนและพลวัตของทฤษฎี เนื่องจากปัจจุบันตัวแบบการแบ่งแยกองค์กรที่ทำหน้าที่ต่างกัน เพื่อให้แต่ละฝ่ายเป็นผู้ใช้อำนาจแต่ละด้านอย่างเป็นเอกเทศจากกันตามแนวคิดของมองเตสกิเออร์นั้น ถูกตั้งข้อกังขามากขึ้นถึงความสอดรับกับบริบทที่เป็นจริง
First Page
33
Last Page
59
Recommended Citation
ไชยชิต, ชาย
(2019)
"ความคลุมเครือของแนวคิดการแบ่งแยกอำนาจใน งานศึกษาการละเมิดอำนาจรัฐสภา: กรณีศึกษางานวิจัย เรื่อง "แนวคิดและหลักการว่าด้วยการละเมิด อำนาจรัฐสภา" ของ พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย,"
Journal of Social Sciences: Vol. 49:
Iss.
2, Article 2.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cujss/vol49/iss2/2