Journal of Social Sciences
Publication Date
2019-01-01
Abstract
บทความนี้มุ่งตั้งคำถามและท้าทายวาทกรรมความเป็นสากลของ "การบูรณาการประเด็นเพศภาวะเข้าสู่กระแสหลัก" (gender mainstreaming) อันเป็นการปฏิบัติและนโยบายที่สำคัญในการบรรลุความเท่าเทียมทางเพศภาวะขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) โดยใช้ทฤษฎี"ลัคนาภาวะ" หรือ "สภาวะทับซ้อน" (intersectionality) ในการบ่งชี้ว่า วาทกรรมดังกล่าวมิได้มีความเป็นสากล เนื่องด้วยปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ อันได้แก่ ประการแรก การให้ความสำคัญเพียงแค่ "เพศภาวะ" โดยลำพังอาจไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศภาวะในแต่ละสังคม เพราะเพศภาวะมิอาจแยกขาดจากคุณลักษณะทางสังคมอื่น ๆ ได้ประการที่สอง คุณลักษณะทางสังคมหรือหน่วยเชิงอัตลักษณ์ทางสังคมที่เรียกว่า "เพศภาวะ" ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของวาทกรรมดังกล่าวไร้ซึ่งเอกภาพ และประการที่สาม"เพศภาวะ" มิใช่คุณลักษณะทางสังคมที่มีความเป็นสากล ฉะนั้น "การบูรณาการประเด็นเพศภาวะเข้าสู่กระแสหลัก" จึงควรเปลี่ยนแปลงแนวทางเดิมไปสู่ "การบูรณาการประเด็นเพศภาวะที่ทับซ้อนเข้าสู่กระแสหลัก" (intersectional gender mainstreaming)
First Page
127
Last Page
150
Recommended Citation
สินสมบูรณ์ทอง, ติณณภพจ์
(2019)
"การท้าทายวาทกรรมความเป็นสากลของการบูรณาการประเด็นเพศภาวะเข้าสู่กระแสหลักขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ,"
Journal of Social Sciences: Vol. 49:
Iss.
1, Article 7.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cujss/vol49/iss1/7