Journal of Social Sciences
Publication Date
2019-01-01
Abstract
การปรับโครงสร้างทางการเมืองของรัฐไทยให้เป็นรัฐราชการที่เข้มแข็งขึ้นเกิดภายหลังการยึดอำนาจรัฐบาลนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ใน พ.ศ.2549 ทำให้ตลอดระยะเวลากว่าทศวรรษ (พ.ศ.2549-2560)รัฐไทยยังคงไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ความชอบธรรมในการใช้อำนาจ ความมั่นคง และการพัฒนาประชาธิปไตย บทความนี้นำเสนอโครงสร้างอำนาจที่เกิดจากระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ของรัฐราชการไทย ด้วยการอธิบายเปรียบเทียบพัฒนาการเชิงสถาบัน โดยใช้มุมมองจากแนวคิดสถาบันนิยมใหม่เชิงประวัติศาสตร์เป็นหลัก เสริมด้วยแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและสังคม และแนวคิดโครงสร้างนิยม จากการศึกษาพบว่าระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ เป็นการสถาปนาเผด็จการอำนาจนิยมทั้งในรัฐธรรมนูญและค่านิยมของสังคมเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง แต่ระบอบดังกล่าวต้องทนต่อแรงกดดันทั้งภายในและภายนอกรัฐที่บังคับให้แสดงกระบวนการประชาธิปไตย จึงสร้างองค์กรอิสระให้เป็นเครื่องมือใหม่ในการตรวจสอบและคานอำนาจสถาบันทางการเมือง โดยมีกองทัพเป็นผู้บริหารประเทศและเครือข่ายนักกฎหมายปรับโครงสร้างทางสังคม ซึ่งรัฐบาลทหารได้ใช้กลไกระบบราชการกำหนดและนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติและยังคงผลิตค่านิยมแบบศักดินาราชูปถัมภ์ครอบทับสังคมไทย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่รัฐราชการไทย แม้ว่ารัฐไทยจะมีการเลือกตั้งและได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ตาม แต่ระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ที่ฝังลึกในสังคมมานานจะคอยขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยและดึงให้รัฐไทยให้กลับไปสู่วงจรรัฐประหารและระบอบเผด็จการอำนาจนิยมอีกครั้ง
First Page
57
Last Page
80
Recommended Citation
พรหมพันธ์ใจ, อดินันท์
(2019)
"ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ (2549-2560) ในรัฐราชการไทยหลังสมัยทักษิณ ชินวัตร,"
Journal of Social Sciences: Vol. 49:
Iss.
1, Article 4.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cujss/vol49/iss1/4