Journal of Social Sciences
Publication Date
2019-01-01
Abstract
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์สามประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมในกระบวนการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย 2) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของการงบประมาณแบบมีส่วนร่วมต่อการทำให้เป็นประชาธิปไตย 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบที่เหมาะสมของการนำงบประมาณแบบมีส่วนร่วมมาใช้ในประเทศไทยด้วยการศึกษาจากกรณีศึกษา 3 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารงานแล้วก็ตาม แต่กระบวนการจัดทำงบประมาณยังไม่เป็นไปตามหลักการของการงบประมาณแบบมีส่วนร่วมตามที่ได้ดำเนินการในประเทศต้นแบบหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือไม่ได้ใช้กระบวนการปรึกษาหารือในการตัดสินใจกำหนดงบประมาณอย่างไรก็ตามการงบประมาณแบบมีส่วนร่วมมีโอกาสนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่พึงปรารถนาซึ่งสอดคล้องกับหลักการทำให้เป็นประชาธิปไตย และเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ปรับทัศนคติของผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนการพัฒนากลไกทางกฎหมายที่เหมาะสม
First Page
35
Last Page
36
Recommended Citation
วังกานนท์, รัฐศิรินทร์
(2019)
"การมีส่วนร่วมทางการเมืองในประเทศไทย : การทำให้เป็นประชาธิปไตยด้วยการงบประมาณแบบมีส่วนร่วม,"
Journal of Social Sciences: Vol. 49:
Iss.
1, Article 3.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cujss/vol49/iss1/3