Journal of Social Sciences
Publication Date
2018-01-01
Abstract
การศึกษาทางการเมืองเป็นกระบวนการการเรียนรู้ของมนุษย์ที่จะส่งเสริมให้สามารถแสวงหาเอกลักษณ์ทางปัญญา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ อุดมการณ์ทางการเมือง รวมทั้งยังเป็นกระบวนการของการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการโต้ตอบหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ในชีวิตจริงของแต่ละวัน เพื่อช่วยทำให้เกิดสติปัญญา มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบในระบบการเมือง องค์ประกอบของการศึกษาทางการเมืองแบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ ประการแรกความรู้ทั่วไปได้แก่ ข้อมูลข่าวสารพื้นฐานที่เป็นเงอนไขจำเป็นต่อการทำความเข้าใจในมิติต่าง ๆ ทางการเมือง ประการที่สองทักษะ ได้แก่ ความสามารถในการประมวลข้อมูลข่าวสารเพื่อทำการวิเคราะห์และประเมินแนวทางในการตัดสินใจทางการเมืองได้อย่างลึกซึ้ง และ ประการที่สาม ทัศนคติในการวิเคราะห์ข่าวสารข้อมูลทางการเมืองอย่างรอบด้านและพินิจพิจารณาให้ทั่วถ้วนลึกซึ้งก่อนที่จะเชื่อตาม หรือนำมาประกอบการตัดสินใจ การศึกษาทางการเมืองจึงต้องสอดรับกับชีวิตในสังคม สถานศึกษาจำลองหรือย่อส่วนสังคมมาไว้ในสถานศึกษา โดยจำลองแบบอย่างที่ดีงามของชีวิต โดยจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียนแต่ละกลุ่มอายุ ต้องมการสร้างบรรยากาศความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษา ให้เด็กรู้จักลักษณะพื้นฐานทั่วไปของสังคม สร้างบรรยากาศให้เด็กได้มีการเรียนรู้สงแปลกใหม่และมุ่งให้สังคมดีขึ้น สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน เน้นเป้าหมายของประชาธิปไตยคือการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
First Page
31
Last Page
52
Recommended Citation
เสรีรังสรรค์, ธีรภัทร์
(2018)
"การศึกษาทางการเมืองเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย,"
Journal of Social Sciences: Vol. 48:
Iss.
2, Article 3.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cujss/vol48/iss2/3