Journal of Social Sciences
Publication Date
2018-01-01
Abstract
บทความชิ้นนี้นำเสนอกรอบแนวคิดเรื่องการปกครองตามธรรมชาติในฐานะที่เป็นฐานคิดของทฤษฎีการปกครองแบบผสมผ่านสิ่งที่เรียกว่า “กฎเหล็กของการปกครองแบบผสม” ที่เกิดขึ้นจากเงื่อนไขเฉพาะและธรรมชาติที่แตกต่างกันขององค์ประกอบภายในการปกครองแบบผสม อันประกอบด้วย (1) กฎเหล็กของมหาชน (2) กฎเหล็กของกลุ่มคน และ (3) กฎเหล็กของเอกบุคคล โดยกฎเหล็กประการแรกเกี่ยวข้องกับกลไกสร้างความชอบธรรมให้แก่ระบอบการเมืองต่างๆ ในขณะที่กฎเหล็กข้อที่สองเกี่ยวข้องกับส่วนที่เป็นกลไกการทำงานจริงของระบอบการเมืองที่จำเป็นต้องอาศัยคนจำนวนน้อยในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะและเพื่อให้การบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่างๆ ของรัฐบาลดำเนินต่อไปได้ กฎเหล็กประการสุดท้ายอาจพิจารณาผ่านปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "การผงาดของรัฐบาลโดยคนคนเดียว" ในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้ระบอบการเมืองทุกระบอบต้องมีกลไกที่คอยเติมเต็มช่องว่างในการใช้อำนาจบริหารของรัฐสมัยใหม่ และรวมถึงอำนาจในสภาวะฉุกเฉินอย่างทันท่วงทีที่ปรากฏในรูปของผู้เผด็จการตามรัฐธรรมนูญ
First Page
171
Last Page
196
Recommended Citation
ไชยภูม, เอกลักษณ์
(2018)
"การปกครองตามธรรมชาติ: กฏเหล็กสามข้อของการปกครองแบบผสม,"
Journal of Social Sciences: Vol. 48:
Iss.
1, Article 9.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cujss/vol48/iss1/9