•  
  •  
 

Journal of Social Sciences

Publication Date

2018-01-01

Abstract

มนุษย์โดยทั่วไปต่างหวาดกลัวความไม่แน่นอนในชีวิต พวกเขาจึงคาดหวังที่จะสามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และสามารถเตรียมพร้อมรับมือปัญหาที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ทันท่วงที เพื่อจะได้ทำให้อนาคตของพวกเขากลายเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งแนวทางดังกล่าวทำให้ "วิทยาศาสตร์" สามารถตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้ เพราะเป็นแนวทางการศึกษาที่มีกฎระเบียบเคร่งครัด สามารถคาดการณ์และทำนายปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติในอนาคตได้ แต่ถึงแม้ว่าการทดลองทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากจะสร้างความศรัทธาให้กับมนุษยชาติ จนกระทั่งมีการนำแนวทางการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาสาขาวิชาต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ในลักษณะของการทำวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีการใช้เทคนิคทางสถิติเป็นเครื่องมือในการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย แต่แล้วหลักการแบบวิทยาศาสตร์ที่สวยหรู ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง "ความเป็นกลาง" (neutrality) และเรื่อง “ความเป็นภววิสัย” (objectivity) ก็ต้องถูกทำให้มัวหมองไป เมื่อการศึกษาดังกล่าวหลีกหนีไม่พ้นอคติ หรืออารมณ์ความรู้สึกของผู้วิจัยที่เป็นปุถุชนผู้สร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นมา ก่อให้เกิดความไม่ลงรอยกันทั้งในทางหลักการและในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการทดสอบสมมติฐานและการสร้างข้อสรุปผลการวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่ทำได้อย่างมากเพียงแค่การอาศัย "ความน่าจะเป็นทางสถิติ" ซึ่งก็คือ การคาดการณ์ว่าปรากฏการณ์ที่ศึกษาจะเกิดขึ้นจริงบนฐานของความไม่แน่นอนนั่นเองแต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลง คำปรามาสของ ลีโอ สเตราส์ ที่ว่าองค์ความรู้สมัยใหม่เปรียบเสมือนยักษ์ที่เท้าเป็นดินเหนียวจึงต้องถูกนำกลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง

First Page

149

Last Page

170

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.