Journal of Social Sciences
Publication Date
2018-01-01
Abstract
มนุษย์โดยทั่วไปต่างหวาดกลัวความไม่แน่นอนในชีวิต พวกเขาจึงคาดหวังที่จะสามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และสามารถเตรียมพร้อมรับมือปัญหาที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ทันท่วงที เพื่อจะได้ทำให้อนาคตของพวกเขากลายเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งแนวทางดังกล่าวทำให้ "วิทยาศาสตร์" สามารถตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้ เพราะเป็นแนวทางการศึกษาที่มีกฎระเบียบเคร่งครัด สามารถคาดการณ์และทำนายปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติในอนาคตได้ แต่ถึงแม้ว่าการทดลองทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากจะสร้างความศรัทธาให้กับมนุษยชาติ จนกระทั่งมีการนำแนวทางการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาสาขาวิชาต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ในลักษณะของการทำวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีการใช้เทคนิคทางสถิติเป็นเครื่องมือในการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย แต่แล้วหลักการแบบวิทยาศาสตร์ที่สวยหรู ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง "ความเป็นกลาง" (neutrality) และเรื่อง “ความเป็นภววิสัย” (objectivity) ก็ต้องถูกทำให้มัวหมองไป เมื่อการศึกษาดังกล่าวหลีกหนีไม่พ้นอคติ หรืออารมณ์ความรู้สึกของผู้วิจัยที่เป็นปุถุชนผู้สร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นมา ก่อให้เกิดความไม่ลงรอยกันทั้งในทางหลักการและในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการทดสอบสมมติฐานและการสร้างข้อสรุปผลการวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่ทำได้อย่างมากเพียงแค่การอาศัย "ความน่าจะเป็นทางสถิติ" ซึ่งก็คือ การคาดการณ์ว่าปรากฏการณ์ที่ศึกษาจะเกิดขึ้นจริงบนฐานของความไม่แน่นอนนั่นเองแต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลง คำปรามาสของ ลีโอ สเตราส์ ที่ว่าองค์ความรู้สมัยใหม่เปรียบเสมือนยักษ์ที่เท้าเป็นดินเหนียวจึงต้องถูกนำกลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง
First Page
149
Last Page
170
Recommended Citation
ณัฐพัทธนันท์, เอกพลณัฐ
(2018)
"ยักษ์ที่เท้าทำด้วยดินเหนียว: บทวิจารณ์ของ Leo Strauss กับความง่อนแง่นขององค์ความรู้ในการวิจัยเชิงปริมาณ?,"
Journal of Social Sciences: Vol. 48:
Iss.
1, Article 8.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cujss/vol48/iss1/8