Journal of Social Sciences
Publication Date
2016-01-01
Abstract
ความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะการทะยานขึ้นมาของจีนที่มียุทธศาสตร์เพิ่มแสนยานุภาพทางทะเลเป็นปัจจัยผลักดันให้ญี่ปุ่นกับอินเดียหันมากระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic partnership) และหุ้นส่วนระดับโลก (Global partnership) ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศมีความกังวลเกี่ยวกับท่าทีที่แข็งกร้าวของจีนในข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ ตลอดจนความพยายามของจีนที่จะขยายเขตอิทธิพลทางทะเลมายังมหาสมุทรอินเดียผ่านทางเมียนมาและปากีสถาน ด้วยความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–อินเดียที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยทฤษฎีสัจนิยมเชิงโครงสร้าง (Structural realism) และการถ่วงดุลภัยคุกคาม (Balance of threat) เพราะโครงสร้างอำนาจระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่จีนเข้มแข็งขึ้นมากทั้งด้านเศรษฐกิจและการทหาร ทำให้ญี่ปุ่นกับอินเดียเพิ่มความร่วมมือกันด้านความมั่นคงในฐานะประเทศมหาอำนาจภายในภูมิภาคที่มีศักยภาพในการถ่วงดุล (Balancing) ต่อจีน ขณะเดียวกันก็ร่วมขบวน (Bandwagon) กับสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียในฐานะประเทศที่ยึดถือค่านิยมสากลโดยเฉพาะประชาธิปไตยเพื่อคานอำนาจและลดทอนอิทธิพลของจีนด้วย
First Page
147
Last Page
171
Recommended Citation
ประเสริฐสุข, กิตติ
(2016)
"ความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงระหว่างญี่ปุ่นกับอินเดียในโครงสร้างอำนาจที่เปลี่ยนแปลงไป,"
Journal of Social Sciences: Vol. 46:
Iss.
2, Article 9.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cujss/vol46/iss2/9