Journal of Social Sciences
Publication Date
2016-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยนี้ ต้องการที่จะศึกษาถึงลักษณะของการดำรงอยู่และการทำงานตามกลไกของการลงโทษโดยสังคม (Social sanctions) และความเป็นไปได้ที่จะนำเอากลไกดังกล่าวมาใช้เป็นมาตรการร่วมกับการบังคับใช้ตามกฎหมาย การวิจัยนี้ได้สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษโดยสังคมและการต่อต้านคอร์รัปชันทั้งในประเทศไทยและการเคลื่อนไหวมวลชนขนาดใหญ่ในต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อียิปต์ และไต้หวัน จากการศึกษาพบว่าการลงโทษโดยสังคมเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ปทัสถานในระดับชุมชนหรือระดับจุลภาคกับปทัสถานในระดับสังคมหรือระดับมหภาคและตัวกลาง (Agent)ซึ่งจะทำหน้าที่กำกับดูแลการบังคับโดยผ่านการลงโทษโดยสังคม (Social sanctions) ต่อบรรดาสมาชิกของสังคมทั้งที่เป็นมาตรการเชิงบวก (Positive social sanctions) ด้วยการให้รางวัล หรือการแสดงความชื่นชมต่อผู้เป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม และที่เป็นการลงโทษ (Negative social sanctions) ต่อผู้ฝ่าฝืนปทัสถาน
First Page
63
Last Page
84
Recommended Citation
พิริยะรังสรรค์, สังศิต
(2016)
"การลงโทษโดยสังคม,"
Journal of Social Sciences: Vol. 46:
Iss.
2, Article 5.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cujss/vol46/iss2/5