Journal of Social Sciences
Publication Date
2016-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาการนำนโยบายไปประยุกต์ใช้ของโรงเรียนในโครงการ Spirit of ASEAN ของ สพฐ. โดยศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสถานศึกษาและเสนอแนวทางในการประยุกต์นโยบายส่งเสริมความหลากหลายวัฒนธรรมของอาเซียนโดยผ่านผู้บริหารครูอาจารย์ นักเรียน และผู้ปกครอง/ชุมชน จากผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนในโครงการ Spirit of ASEAN มีความรู้ ความตระหนัก และความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยผ่านหลักสูตรอาเซียน การเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ กิจกรรมการเรียนการสอน การสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนในประเทศอาเซียน และการมีศูนย์อาเซียนของตนเอง ในส่วนของปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมประกอบด้วยปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ การตระหนักรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ของประชากรที่ศึกษากลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร พบปัจจัยสำคัญด้านการบริหารสถานศึกษาซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย กลุ่มที่ 2 ครู/อาจารย์ เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านการเรียนการสอนที่จะต้องถ่ายทอดความรู้ด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมให้กับนักเรียน กลุ่มที่ 3 นักเรียน เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้เรียนซึ่งนักเรียนต้องเปิดใจยอมรับความแตกต่าง และกลุ่มที่ 4 ผู้ปกครอง/ชุมชน เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมโดยการให้ความร่วมมือกับโรงเรียนเมื่อมีการจัดกิจกรรมต่างๆ และการร่วมในการกำหนดนโยบายในสถานศึกษา ในส่วนของแนวทางการประยุกต์นโยบายส่งเสริมความหลากหลายวัฒนธรรมของอาเซียนสามารถแบ่งออกได้ 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 การพัฒนาโรงเรียนในเมือง (Urban model) มีความหลากหลาย ด้านโครงสร้างประชากร อาชีพ เชื้อชาติ ศาสนา ดังนั้น ควรใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงสื่อ และความสะดวกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในด้านการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรม รูปแบบที่ 2 การพัฒนาโรงเรียนในชนบท (Rural model) ควรใช้ทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นประโยชน์
First Page
161
Last Page
180
Recommended Citation
ธำรงธัญวงศ์, สมบัติ; ไทยจงรักษ์, ณัฐพร; and ขอบใจกลาง, จุฬาภรณ์
(2016)
"ปัจจัยที่มีผลต่อการประยุกต์นโยบายส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของอาเซียน,"
Journal of Social Sciences: Vol. 46:
Iss.
1, Article 9.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cujss/vol46/iss1/9