Journal of Social Sciences
Publication Date
2016-01-01
Abstract
บทความนี้เริ่มต้นจากการตอบคำถามที่ว่า "ทำไมจึงไม่ค่อยมีทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองจากฐานองค์ ความรู้ทางวิชาการในโลกที่สาม" โดยข้อถกเถียงหลักในการตอบคำถามใช้กรอบการศึกษาแบบประวัติศาสตร์ นิพนธ์ว่าด้วยระเบียบการศึกษา เพื่ออธิบายว่าองค์ความรู้ทางเศรษฐกิจการเมืองในฐานะ "ทฤษฎี" ถูกครอบงำ โดยกลุ่มสำนักยุโรปเป็นศูนย์กลางตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 18 ถึง 19 ทั้งในด้านของทฤษฎีฝั่งเสรีนิยมและมาร์กซิสต์ ต่างมีชุดคำอธิบายจากยุโรปเป็นศูนย์กลางและอ้างว่าคำอธิบายดังกล่าวมีความเป็นสากล ทั้งในระดับความ เป็นศาสตร์ด้วยวิธีวิทยาต่างๆ แบบเสรีนิยม และแบบแผนการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์แบบมาร์กซิสต์ จึงนำมาสู่การเลือกปฏิบัติและการเหยียดชนชั้นทางวิชาการต่อฐานองค์ความรู้ทางเศรษฐกิจการเมือง นอกสำนักยุโรป ทั้งขอบเขตการศึกษา ทรัพยากรทางวิชาการ และการลดทอนคุณค่าของการศึกษานอกพื้นที่ ยุโรปให้เป็นเพียงอาณาบริเวณศึกษา อย่างไรก็ดี การศึกษาเศรษฐกิจการเมืองบนฐานนอกสำนักยุโรปในกลุ่ม “การเมืองชีวิตประจำวัน” ได้ขึ้นมาท้าทายองค์ความรู้ที่ครอบครองอำนาจนำในทางทฤษฎีได้
First Page
103
Last Page
116
Recommended Citation
หวังสัจจะโชค, วีระ
(2016)
""ทำไมจึงไม่ค่อยมีทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองจากฐานองค์ความรู้ทางวิชาการในโลกที่สาม?": การครอบงำและการเลือกปฏิบัติทางวิชาการจากความรู้แบบสำนักยุโรปเป็นศูนย์กลาง,"
Journal of Social Sciences: Vol. 46:
Iss.
1, Article 6.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cujss/vol46/iss1/6