Journal of Social Sciences
Publication Date
2015-01-01
Abstract
แม้ว่ารัฐไทยจะมีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองในช่วงทศวรรษที่ 1980 แต่โครงสร้างที่ ไม่เป็นทางการของสังคมหรือค่านิยมของสังคมไทยกลับยังคงไม,เปลี่ยนแปลง บทความนี้นำเสนอโครงสร้าง อำนาจที่เกิดจากระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบของรัฐไทยในสมัยพลเอกเปรม ด้วยการอธิบายเปรียบเทียบ พัฒนาการเซิงสถาบันของระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ โดยใช้มุมมองจากแนวคิดสถาบันนิยมใหม่เซิง ประวัติศาสตร์เป็นหลัก เสริมด้วยแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและสังคม และแนวคิดโครงสร้างนิยม จากการศึกษาพบว่ารัฐไทยมีการปรับโครงสร้างอำนาจในลักษณะเผด็จการที่มีการผนึกกำลังกันภายในระบบ ราชการระหว่างทหารกับเทคโนแครต (authoritarian military-technocratic alliance) อีกทั้งยังมีการดึงนักการเมือง และนักธุรกิจซนชั้นกลางที่ยอมรับได้กับอำนาจแบบเผด็จการเข้าร่วมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบราชการไทย ในทุกมิติ กลายเป็น "รัฐราชการแบบเปิด (open bureaucratic polity)" ที่มีโครงสร้างอำนาจใหม่ที่เรียกว่า "ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ (semiขdemocratic regime)" ที่ไม่ใช่การประนีประนอมอำนาจด้งคำอธิบายชุดเดิม แต่เป็นการปรับตัวของรัฐไทยในภาวะวิกฤตที่ดึงเอากลุ่มพลังอำนาจนอกระบบราชการที่ยอมรับในอำนาจ เผด็จการเข้าสู่กระบวนการทางนโยบาย ส่งผลให้รัฐราชการไทยเข้มแข็งและมีการผลิตค่านิยมแบบศักดินา ราชูปถัมภ์ครอบทับลังคมไทยไว้ ระบอบนี้จึงใช้แก้ปัญหารัฐไทยในภาวะวิกฤต แต่ไม่อาจแก้ไขปัญหาทาง เศรษฐกิจ ความชอบธรรมทางการเมือง ความมั่นคง และการพัฒนาประชาธิปไตยของรัฐไทยได้อย่างมั่นคงและ ยั่งยืน
First Page
75
Last Page
104
Recommended Citation
พรหมพันธ์ใจ, อดินันท์
(2015)
"รัฐราชการไทยในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์: ปัญหาระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ (2523 - 2531) The Thai bureaucratic polity during the general Prem Tinsulanonda period: The problems of semi-democratic regime (1980 -1988),"
Journal of Social Sciences: Vol. 45:
Iss.
2, Article 5.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cujss/vol45/iss2/5