Journal of Social Sciences
Publication Date
2015-01-01
Abstract
สถาบันตุลาการไม่ได้แค่บังคับใช้กฏหมายแบบภววิสัยโดยไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหมอะไร งานศึกษาเชิงวิพากษ์จำนวนมากเน้นย้ำข้อเท็จจริงที่ว่าผู้พิพากษานั้นมิได้เป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค พฤติกรรมและรูปแบบการตัดสินใจของพวกเขามักถูกกำหนดโดยปัจจัยหลากหลาย นอกเหนือไปจากปัจจัยทางกฏหมาย ด้านนหนึ่ง “ตัวแบบเชิงทัศนคติ” เจาะจงไปที่อิทธิพลของแรงจูงใจส่วนบุคคล อย่างค่านิยมเชิงอุดมการณ์ เป้าหมายทางอาชีพ ความเชื่อทางศาสนา และการรับรู้เรื่องบทบาทหน้าที่ ขณะที่อีกด้านนหนึ่ง “ตัวแบบเชิงกลยุทธ์” โต้แย้งว่า ศาลมีแนวโน้มคำนวณ และประพฤติตัวแบบคิดหน้าคิดหลัง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางสถาบันของตน ในเวลาเดียวกัน สถาบันตุลาการก็ยังฝังตัวอยู่ในระบบการเมือง ศาลในหลายประเทศได้เป็นดั่งผู้มีสิทธิขาดเหนือนโยบายสำคัญๆ ตั้งแต่ด้านนสังคมไปจนถึงด้านนการเงิน บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่าสถาบันตุลาการทั้งหลายสามารถมีความเป็นการเมืองมากเพียงใด พร้อมกับทบทวนแนวทางเชิงวิพากษ์สำหรับทำความเข้าใจธรรมชาติทางการเมืองของสถาบันดังกล่าว
First Page
27
Last Page
48
Recommended Citation
ฟูวงศ์เจริญ, ภูริ
(2015)
"ฤๅหาใช่เพียงร่างทรง: แนวทางเชิงวิพากษ์ ในการศึกษาสถาบันตุลาการ,"
Journal of Social Sciences: Vol. 45:
Iss.
2, Article 3.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cujss/vol45/iss2/3