Journal of Social Sciences
Publication Date
2014-01-01
Abstract
เขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำไซยะบุรี เป็นโครงการพัฒนาระดับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงแห่งแรกที่มีโครงสร้างทางกายภาพกั้นขวางทางไหลของแม่น้ำโขงตอนใต้นอกเหนือจากประเทศจีน ในฐานะที่แม่น้ำโขงนั้นถูกจัดเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ไหลผ่านหลายประเทศ การเกิดขึ้นของเขื่อนไซยะบุรีจึงกลายเป็นสนามแห่งการประลองของการสร้างความชอบธรรมของชุดความรู้ ความคิด ที่พยายามเข้ามาจัดสรรสร้างวาทกรรมต่อพื้นที่แห่งนี้โดยเฉพาะชุดความรู้ในเรื่องการจัดการแบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (scientific and technology) กับชุดความรู้แบบสังคมศาสตร์เชิงสิ่งแวดล้อมมนุษยนิยม (environmental humanism) ที่ต่างก็พยายามเข้ามาจับจองการจัดการบนพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำโขง สองชุดความรู้ดังกล่าวนี้ได้เข้ามามีบทบาทสําคัญต่อความคิดและการอ้างความชอบธรรมของฝ่ายสนับสนุนและของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยต่อการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำไซยะบุรี ฝ่ายที่เห็นชอบมีชุดความคิดที่ยึดโยงอยู่กับฐานคิดแบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สามารถนำมาสู่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยนั้นได้รับชุดความคิดแบบสิ่งแวดล้อมมนุษยนิยมที่มีความตระหนักต่อผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นเขื่อนไซยะบุรีเป็นพื้นที่ที่ถูกจับจอง และถูกจัดสรรทรัพยากรเพื่อผลประโยชน์ของผู้กระทำการที่เข้ามาแย่งชิงในการจัดสร้างวาทกรรมต่อการสร้างความชอบธรรมของชุดความคิดต่างๆ โครงการไซยะบุรีถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นถกเถียงที่สําคัญในเวทีนานาชาติอนุภูมิภาคในลุ่มน้ําโขง มีผู้กระทำการที่เกี่ยวข้องทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และองค์กรอิสระ โดยเมื่อใช้กรอบแนวคิดเชิงนิเวศวิทยาการเมือง (political ecology) เข้ามาอธิบายจะเห็นได้ว่าแต่ละตัวผู้กระทำการล้วนแล้วแต่สถาปนาชุดความคิดของตนเองเพื่อสร้างความชอบธรรมและอํานาจของแต่ละกลุ่มของตนเอง จนนํามาสู่การปะทะกันทางความคิดต่อการจัดการบนพื้นที่เขื่อนไซยะบุรี โดยที่แต่ละผู้กระทำการนั้นต่างก็มีปัจจัยต่างๆ เข้ามาสนับสนุนฐานคิดของตนเอง โดยมีตัวแสดงเบื้องหลังทั้งหมด คือ “อํานาจ” ที่เป็นตัวเข้ามาครอบงําชุดความคิดของตัวแสดงต่างๆต่อการจัดสรรทรัพยากรต่อโครงการนี้ เขื่อนไซยะบุรีได้เป็นอีกข้อพิสูจน์หนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า “อํานาจ” นั้นอยู่เบื้องหลังการกระทำการ ความความขัดแย้ง และการปะทะกันทางความคิดโดยทั้งหมด “อํานาจ” เป็นสิ่งหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนหรือหักล้างชุดความรู้ และถูกนำมาใช้ในสังคมโดยที่เรามักไม่เคยตั้งคำถามต่อตัวตนของมัน
First Page
117
Last Page
139
Recommended Citation
สินเกิดสุข, นภัสดล
(2014)
"การปะทะทางความคิดการเมือง ต่อเรื่องการจัดการลุ่มแม่น้ำโขง: กรณีศึกษาเขื่อนไซยะบุรี,"
Journal of Social Sciences: Vol. 44:
Iss.
2, Article 8.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cujss/vol44/iss2/8