Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1985-09-01
Abstract
ดัชนีอนามัยช่องปาก (oral hygiene index) ของเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา อายุ 6-12 ปี ที่สุ่มมาจากโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร 24 แห่ง จากทุกเขตการปกครอง จำนวน 1,508 คน มีค่าเฉลี่ยเป็น 2.1 ซึ่งจัดอยู่ในระดับพอใช้ ค่าดัชนีอนามัยช่องปากของ เด็กเหล่านี้ถูกกำหนดโดยอิทธิพลของดัชนีแผ่นคราบฟัน (debris index) ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 1.9 มากกว่าจะเป็นผลจากอิทธิพลของดัชนีหินน้ำลาย (calculus index) ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 0.2 ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าการเลือกใช้วิธีแปรงฟันที่เหมาะสมและให้ประสิทธิภาพสูงในการกำจัดแผ่นคราบฟัน น่าจะทำให้สภาวะอนามัยช่องปากของเด็กเหล่านี้เปลี่ยนไปอยู่ในระดับดีได้ อย่างไรก็ดี พบว่าความแตกต่างระหว่างเพศจะมีอิทธิพลต่อดัชนีแผ่นคราบฟันและดัชนีอนามัยช่องปากอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p < 0.01 และ p < 0.1) โดยกลุ่มเด็กผู้หญิงจะมีค่าเฉลี่ยของดัชนีอนามัย ช่องปากและดัชนีแผ่นคราบฟันเท่ากับ 2.06 และ 1.84 ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มเด็กผู้ชาย จะมีค่าเฉลี่ยของดัชนีทั้งสองเท่ากับ 2.13 และ 1.95 ตามลำดับ ขณะเดียวกันก็พบว่าเด็กกลุ่ม อายุน้อยจะมีดัชนีแผ่นคราบฟันและดัชนีหินน้ำลายต่ำ และเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น แต่ความ แตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้เมื่อทำการทดสอบทางสถิติโดยคำนวณหาค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างดัชนีอนามัยช่องปากกับอัตราฟันผุ ถอน อุด พบว่าค่าที่ได้ต่ำ มาก อย่างไรก็ดีกลุ่มที่มีสภาวะอนามัยช่องปากระดับดีจะพบมีอัตราฟันผุ ถอน อุด ต่ำกว่า กลุ่มที่มีสภาวะอนามัยช่องปากระดับเลว ทั้งในฟันแท้และฟันน้ำนม
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.8.3.1
First Page
159
Last Page
168
Recommended Citation
สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง, ทรงธรรม and ปัญญางาม, ยุทธนา
(1985)
"สภาวะอนามัยช่องปากของเด็กอายุ 6-12 ปี จากครอบครัวที่มีระดับเศรษฐกิจต่ำในเขตกรุงเทพมหานคร,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 8:
Iss.
3, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.8.3.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol8/iss3/1