Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1985-05-01
Abstract
การศึกษาสภาวะโรคฟันผุในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา (อายุ 6-12 ปี) ที่มา จากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,508 คน พบว่า อัตราความชุกชุม (prevalence) ของโรคฟันผุในฟันแท้ของประชากรกลุ่มตัวอย่างมี ค่าคิดเป็นร้อยละ 84.10 ในขณะที่ฟันน้ำนมมีค่าเป็นร้อยละ 73.62 สภาพความรุนแรงของ โรคฟันผุในฟันแท้ที่แสดงด้วยค่าเฉลี่ยของฟันผุถอนอุดคิดเป็นซี่ต่อคนและด้านต่อคน จะตำ เมื่อเด็กอายุน้อยและค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเมื่อ ในเมื่ออายุมากขึ้น โดยมีค่าเป็น 1.22 2.16 2.37 3.20 3.71 4.27 5.17 ปีต่อคน และ 1.86 3.65 4.00 5.89 6.77 7.66 9.74 ด้านต่อคน ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าค่าเฉลี่ยที่คิดเป็นด้านต่อคนจะเพิ่มเร็วกว่าคิดเป็นซี่ต่อคน ซึ่งแสดง ว่ามีการลุกลามของรอยผุไปยังด้านอื่นของซี่ฟันเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น สำหรับค่าเฉลี่ยของ ฟันผุและอุดในฟันน้ำนมพบว่าสูงเมื่ออายุน้อยแล้วค่อย ๆ ลดลง เมื่ออายุมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจาก ไม่สามารถบันทึกข้อมูลการหลุดหายไปของฟันน้ำนมว่ามีประวัติการผุอย่างไรหรือไม่ จึงดูเหมือนว่าค่าดังกล่าวลดลง อย่างไรก็ดีเมื่อนำข้อมูลค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดของฟันแท้มาวิเคราะห์ หาความสัมพันธ์กับอัตราฟันผุและอุดของฟันน้ำนม โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient, r) พบว่าเด็กกลุ่มอายุ 6, 7 และ 8 ปี จะมีความสัมพันธ์กัน ระหว่างอัตราความรุนแรงของโรคฟันผุของฟันน้ำนมกับฟันแท้ นั่นคือเมื่อตรวจพบว่ามีฟันน้ำนมผุ มากก็น่าจะพบฟันแท้ผุมากด้วย หรือถ้าตรวจพบมีฟันน้ำนมผุน้อย ฟันแท้ก็จะผุน้อย ซึ่ง แสดงให้เห็นว่าถ้าได้มีการดูแลฟันน้ำนมมาอย่างดีตั้งแต่เริ่มมีฟันน้ำนมซี่แรกโผล่ขึ้นสู่ช่องปาก จนถึง 5-6 ขวบแล้ว เมื่อฟันแท้เริ่มขึ้นจะมีโอกาสผุน้อยด้วย ทั้งนี้เพราะองค์ประกอบที่ก่อให้ เกิดโรคฟันผุได้ถูกควบคุมไว้อย่างดีแล้ว
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.8.2.2
First Page
89
Last Page
99
Recommended Citation
ปรัชญา, ขวัญชัย and ปัญญางาม, ยุทธนา
(1985)
"สภาวะโรคฟันผุในฟันน้ำนมและฟันแท้ของ เด็กนักเรียน ในเขตกรุงเทพมหานคร,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 8:
Iss.
2, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.8.2.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol8/iss2/2