Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1984-01-01
Abstract
ทันตแพทย์ 167 คน ในหน่วยบริการของรัฐและวิสาหกิจในเขตกรุงเทพมหานคร 17 แห่ง ยกเว้นหน่วยงานสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยได้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็น และ การใช้สารซีแลนท์ ในงานทันตกรรมป้องกัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 60.07 ของผู้ได้รับแบบสอบถามทั้งหมด 278 คน พบว่าร้อยละ 45.32 ของผู้ตอบแบบสอบถามได้รับความรู้เรื่องสารซีแลนท์จากการพูดคุยระหว่างเพื่อนร่วมงาน และคําแนะนําของบริษัทผู้ผลิตหรือผู้แทนจําหน่ายซึ่ง มากกว่าได้รับจากแหล่งทางวิชาการโดยตรง ทันตแพทย์ส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าสารซีแลนท์สามารถป้องกันการเกิดรอยผุได้แต่มีทันตแพทย์เพียงร้อยละ 13.17 เท่านั้นที่ใช้สารซีแลนท์เป็นประจําเมื่อเห็นสมควร ร้อยละ 28.75 ที่เคยใช้แล้วเลิกใช้ในปัจจุบัน และร้อยละ 58.08 ไม่เคยใช้สารนี้เลยโดยให้เหตุผลที่ไม่ใช้สารซีแลนท์แตกต่างกันไปที่สําคัญได้แก่ อาจปิดทับรอยรั่วหรือปิดทับบริเวณหลุมและร่องบนผิวฟันไม่สนิท ทําให้เกิดรอยข้างใต้ได้ อาจปิดทับรอยผุที่ยังตรงจไม่พบและสารซีแลนท์ยึดติดกับผิวเคลือบฟันไม่ได้นาน ส่วนทันตบุคลากรที่เป็นผู้ใช้สารผู้ใช้สารซีแลนท์นอกจากทันตแพทย์แล้ว ทันตานามัยและทันตาภิบาลสมควรเป็นผู้ใช้ด้วย เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายด้านทันตสุขภาพขององค์การอนามัยโลก ซึ่งมุ่งที่จะควบคุมค่าเฉลี่ย ฟันผุ ถอน อุด ของเด็กกลุ่มอายุ 12 ปี ให้มีค่าไม่เกิน 3 คน ในปี 2543 จึงจําเป็น ต้องสนับสนุนและเผยแพร่ให้มีการใช้สารซีแลนท์เป็นมาตรการหนึ่งของงานทันตกรรมป้องกัน ให้แพร่หลายยิ่งกว่าในปัจจุบันนี้ เนื่องจากสารซีแลนท์เป็นสิ่งซึ่งผลิตขึ้นมาสําหรับป้องกันการ เกิดรอยยุบนด้านสบฟัน ซึ่งมีลักษณะเป็นหลุมและร่องและมีอุบัติการณ์การเกิดรอยผุสูงที่สุดของซี่ฟัน
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.7.1.2
First Page
10
Last Page
17
Recommended Citation
ลุศนันทน์, สุวรัตน์; เจริญทรัพย์, โอบเอื้อ; and ปัญญางาม, ยุทธนา
(1984)
"สถานภาพของสารซีแลนท์ต่องานทันตกรรม ป้องกันในเขตกรุงเทพมหานคร,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 7:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.7.1.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol7/iss1/2