Chulalongkorn University Dental Journal
ผลของสารคอนดิชันเนอร์ทีมีต่อความแข็งแรงพันธะเฉือนระยะแรกของเรซินมอดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ต่อเคลือบฟัน
Publication Date
2015-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการปรับสภาพผิวฟันด้วยสารคอนดิชันเนอร์ต่าง ๆ ต่อความแข็งแรงพันธะเฉือนในช่วงแรกของเรซินมอดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ต่อเคลือบฟัน วัสดุและวิธีการ แบ่งฟันกรามน้อย 55 ปี ออกเป็น 5 กลุ่ม โดยกลุ่ม 1-4 (กลุ่มทดลอง) ยึดติดแบร็กเกตด้วย สารยึดติดเรซินมอดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ (Fuji Ortho LC) โดยสารคอนดิชันเนอร์แต่ละกลุ่มดังนี้ กลุ่ม 1 ไม่ ใช้สารคอนดิชันเนอร์ กลุ่ม 2 กรดพอลิอะคริลิกเข้มข้นร้อยละ 20 กลุ่ม 3 กรดฟอสฟอริกเข้มข้นร้อยละ 37 กลุ่ม 4 สารเซลฟ์เอชชิงไพร์มเมอร์ (Transbond Plus SEP) กลุ่ม 5 (กลุ่มควบคุม) กรดฟอสฟอริกและสารยึดติดเรซิน คอมโพสิต (Transbonds XT) นําตัวอย่างกลุ่มละ 10 ชิ้นไปวัดความแข็งแรงพันธะเฉือนภายหลังการฉายแสง 5 นาที โดยเครื่องทดสอบสากล บันทึกค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนที่ทําให้แบร์กเกตหลุดออกจากผิวฟัน คํานวณหา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทําการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยค่าสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ ทางเดียว วัดค่าการเหลืออยู่ของสารยึดติดบนตัวฟันด้วยค่าดัชนีการเหลืออยู่ของสารยึดติด ทดสอบด้วยค่าสถิติ ไคสแควร์ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ส่วนตัวอย่างอีกกลุ่มละ 1 ชิ้นนําไปศึกษาการยึดติดระหว่างสารยึดติด และเคลือบฟันด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความแข็งแรงพันธะเฉือนของกลุ่ม 1 2 3 4 และ 5 เท่ากับ 8.4 12.0 10.8 + 0.7 14.6 + 3.0 13.7 + 1.7 และ 21.5 + 4.0 เมกะปาสคาล ตามลําดับ ไม่พบความแตกต่างอย่างมี นัยสําคัญของค่าเฉลี่ยความแข็งแรงพันธะเฉือนระหว่างกลุ่มที่ 3 และ 4 (p = 0.433) ค่าดัชนีการเหลืออยู่ของสารยึด ติดสัมพันธ์กับชนิดของสารคอนดิชันเนอร์ (p<0.05) โดยกลุ่ม 1 และ 2 เกิดการล้มเหลวของการยึดติดระหว่างผิว เคลือบฟันและสารยึดติด ส่วนกลุ่ม 3 4 และ 5 เกิดความล้มเหลวระหว่างฐานแบร์กเกตและสารยึดติด การศึกษา ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่าลักษณะของแท่งเรซินในผิวฟันของกลุ่มที่ใช้สารเซลฟ์เอชชิ่ง ไพร์มเมอร์มีปริมาณมากและขนาดใหญ่กว่ากลุ่มทดลองอื่น ๆ สรุป การปรับสภาพผิวฟันด้วยกรดฟอสฟอริกหรือสารเซลฟ์เอชชิงไพร์มเมอร์มีผลเพิ่มความแข็งแรงพันธะเฉือนระยะแรกของเรซินมอดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ (ว ทันต จุฬาฯ 2558:38:197-208)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.38.3.3
First Page
197
Last Page
208
Recommended Citation
เลาห์ทวีรุ่งเรือง, ณัฐพร and เตชะเลิศไพศาล, ไพบูลย์
(2015)
"ผลของสารคอนดิชันเนอร์ทีมีต่อความแข็งแรงพันธะเฉือนระยะแรกของเรซินมอดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ต่อเคลือบฟัน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 38:
Iss.
3, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.38.3.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol38/iss3/3