Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2015-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของไดแคลต่อค่ากําลังแรงยึดเฉือนของเรซินซีเมนต์ 4 ชนิด วัสดุและวิธีการ ฟันกรามแท้ของมนุษย์จํานวน 120 ซี่ ตัดด้านบดเคี้ยวให้เนื้อฟันเผย แบ่งฟันโดยการสุ่มเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 40 ปี กลุ่มที่ 1 คือไม่เคลือบไดแคลบนเนื้อฟัน (กลุ่มควบคุม) ส่วนกลุ่มที่ 2 และ 3 เคลือบไดแคลบน เนื้อฟันแล้วทิ้งไว้เป็นระยะเวลา 7 และ 28 วัน ตามลําดับ จากนั้นแต่ละกลุ่มยังแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อยกลุ่มละ 10 ปี ตามชนิดของเรซินซีเมนต์ที่ใช้ทดสอบ 4 ชนิด (วารีโอลิงค์เอ็น พานาเวียเอฟทู รีไลเอ็กซ์ยูสองร้อย และแม็กเซมอีลิต) กําจัดไดแค ออกหลังจากครบเวลาที่กําหนดยึดแท่งเรซินคอมโพสิตบนผิวเนื้อฟันด้วยเรซินซีเมนต์ นําชิ้นทดสอบ แช่ในน้ํากลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ทดสอบหาค่ากําลังแรงยึดเฉือนโดยเครื่องทดสอบ สากล ด้วยความเร็วหัวกด 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสอง ทางและการเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดทุกย์ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ตรวจสอบลักษณะความล้มเหลวของ การยึดติดบริเวณรอยแตกหักของชิ้นทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอไมโครสโคป และกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษา ค่ากําลังแรงยึดเฉือนของทุกกลุ่มที่ยึดด้วยวารีโอลิงค์เอ็นและพานาเวียเอฟทู ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ชิ้นทดสอบทุกชิ้นของกลุ่มวารีโอลิงค์เอ็นและพานาเวียเอฟทูแสดงความล้มเหลว แบบผสม ส่วนกลุ่มไลเอ็กซ์ยูสองร้อยและแม็กเซมอีลิต พบว่าค่ากําลังแรงยึดเฉือนของกลุ่มที่สัมผัสไดแคลเป็น เวลา 7 วัน และ 28 วัน มีค่าต่ํากว่ากลุ่มที่ไม่สัมผัสใดแคลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แต่ค่ากําลังแรงยึดเฉือน ระหว่างกลุ่มที่สัมผัสไดแคลด้วยระยะเวลา 7 วัน และ 28 วัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ชิ้นทดสอบทุกชิ้นของกลุ่มไลเอ็กซ์ยูสองร้อยและแม็กเซมอีลิต แสดงความล้มเหลวแบบยึดไม่ติด เมื่อพิจารณา เฉพาะกลุ่มที่เนื้อฟันสัมผัสสารได้แคล พบว่ากลุ่มไลเอ็กซ์ยูสองร้อยและแม็กเซมอีลิตมีค่ากําลังแรงยึดเฉือนต่ํากว่า กลุ่มวารีโอลิงค์เอ็นและพานาเวียเอฟทอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สรุป ได้แคลมีผลต่อค่ากําลังแรงยึดเฉือนต่อเนื้อฟันในกลุ่มที่ยึดด้วยรึไลเอ็กซ์ยูสองร้อยหรือแม็กเซมอีลิต แต่ไม่มีผลต่อค่ากําลังแรงยึดเฉือนในกลุ่มที่ยึดด้วยวาริโอลิงค์เอ็นหรือพานาเวียเอฟทู
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.38.2.5
First Page
141
Last Page
154
Recommended Citation
ศรีอัมพร, ตุลย์; โฆษิตพันธวงศ์, ชุติมา; and ธํารงค์อนันต์สกุล, นิยม
(2015)
"ผลของซีเมนต์ชั่วคราวชนิดไดแคลต่อค่ากําลัง แรงยืดเฉือนของเรซินซีเมนต์ 4 ชนิดกับเนื้อฟัน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 38:
Iss.
2, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.38.2.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol38/iss2/5